A.T.A. Carnet: The Passport for Goods

คุณเคยสงสัยไหมคะว่า … ในการแข่งขันโอลิมปิกส์ การแข่งรถ เทศกาลดนตรี หรือ การจัดแสดงสินค้าเครื่องจักรในต่างประเทศ นักกีฬาทั้งทีมขนอุปกรณ์ ขนรถแข่ง ศิลปินขนเครื่องดนตรีของทั้งวงออเคสตร้า หรือบริษัทฯ ขนเครื่องจักรใหญ่ๆกลับไปกลับมาข้ามทวีปได้อย่างไร คำตอบก็คือ พวกเขามักใช้ A.T.A Carnet เป็นตัวช่วยกันค่ะ A.T.A. Carnet (Admission Temporaire/ Temporary Admission) หรือที่มักถูกเรียกว่า พาสปอร์ตสำหรับสินค้า เป็นเอกสารศุลกากรระหว่างประเทศที่อนุญาตให้นำเข้าตัวอย่างสินค้า สินค้าสำหรับจัดแสดงหรืออุปกรณ์วิชาชีพเข้าสู่ประเทศสมาชิกชั่วคราวโดยไม่ต้องชำระภาษีนำเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือวางเงินประกันที่ด่านศุลกากรแต่ละแห่งเป็นระยะเวลาสูงสุดหนึ่งปี โดยหอการค้านานาชาติ (ICC) ออกแบบเอกสารนี้มาเพื่ออำนวยความสะดวก ส่งเสริมธุรกิจและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่ง A.T.A. Carnet เป็นเอกสารมาตรฐานที่สามาถใช้ได้ในกว่า 80 ประเทศทั่วโลก ขั้นตอนหลักของ A.T.A. Carnet – ปกหน้าและปกหลัง (สีเขียว) และใบต่อ (สีขาว) – แบบส่งออกและแบบนำกลับเข้ามาในราชอาณาจักร (สีเหลือง) – แบบนำเข้าและแบบส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (สีขาว) และ –… Continue reading A.T.A. Carnet: The Passport for Goods

จากกำไรสู่จุดมุ่งหมาย: วิถีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) คือกรอบการพัฒนาภายใต้เป้าหมาย 17 ประการ โดย 193 ประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยตกลงดำเนินการร่วมกันเพื่อบรรลุการพัฒนาคน การพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนภายในปี ค.ศ. 2030 ถึงแม้ว่าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนนี้ จะถูกสร้างขึ้นเพื่อนำทางรัฐบาลและองค์กรทางสังคมในการดำเนินการเป็นหลัก แต่ในสถานการณ์จริงแล้วธุรกิจมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน SDGs เป็นอย่างมาก เนื่องจากกิจกรรมทางตรงของธุรกิจสามารถสร้างคน สร้างงาน ส่งเสริมนวัตกรรม และลงทุนในการวิจัยพัฒนาวิธีการที่ยั่งยืนที่สามารถช่วยในการจัดการกับภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับโลกของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราสามารถเริ่มดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างไร? 1. เข้าใจเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน:ธุรกิจจำเป็นต้องมีความเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายทั้ง 17 ประการของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ความเข้าใจนี้เป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถระบุเป้าหมายและวิธีการที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ 2. ดำเนินการประเมินความสำคัญของปัญหาและระบุ SDGs Goals:ธุรกิจควรดำเนินการประเมินความสำคัญของปัญหาทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและระบุว่า SDGs Goals ใดมีผลกระทบต่อธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของธุรกิจมากที่สุด โดยธุรกิจสามารถประเมินและกำหนดลำดับความสำคัญตามขอบข่ายที่มีผลกระทบสูงสุดก่อน 3. กำหนดเป้าหมายและพัฒนาแผนงาน: เมื่อเข้าใจปัญหาของธุรกิจและประเมินลำดับความสำคัญของการพัฒนาเพื่อบรรลุเป้าหมายตาม SDGs แล้ว ธุรกิจสามารถกำหนดเป้าหมายและพัฒนาแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นอย่างเฉพาะเจาะจง แผนการดำเนินการครอบคลุมถึงการกำหนดวิธีการ กรอบเวลาและผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน 4. สร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: ในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย SDGs นั้น… Continue reading จากกำไรสู่จุดมุ่งหมาย: วิถีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

Contact
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สอบถามทางโทรศัพท์
+66 2 677 7270-5
10th Floor, Q. House Lumpini Building,
No. 1 South Sathorn Road, Tungmahamek, Sathorn, Bangkok 10120, Thailand