ภาพรวมและแนวโน้มนิคมอุตสาหกรรมประเทศไทยในอนาคต

นิคมอุตสาหกรรมหมายถึงเขตพื้นที่ดินซึ่งถูกจัดสรรไว้สำหรับจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมรวมกันอย่างเป็นสัดส่วน นิคมอุตสาหกรรมสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ (1) เขตอุตสาหกรรมทั่วไป (General Industrial Zone) คือเขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม การบริการหรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์ หรือเกี่ยวเนื่องกับการประกอบอุตสาหกรรมหรือ การบริการ  (2) เขตประกอบการเสรี (I-EA-T Free Zone) คือ เขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรมพาณิชยกรรม โดยผู้ประกอบการที่เข้ามาทำธุรกิจในนิคมอุตสาหกรรมจะได้สิทธิประโยชน์กว่าผู้ประกอบการธุรกิจในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปดังนี้ การได้รับสิทธิ์ยกเว้นค่าธรรมเนียมอากรขาเข้า-ออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องจักร วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์  ได้รับการอำนวยความสะดวกในการนำของเข้าไปในเขตประกอบการเสรีโดยจะได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรดังนี้ของที่นำเข้าเพื่อส่งออกไม่อยู่ภายใต้การควบคุมมาตรฐาน

หลายปีที่ผ่านมา จำนวนนักลงทุนจีนได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ทำให้สัดส่วนจำนวนนักลงทุนจีนที่ได้มาจัดตั้งโรงงานและบริษัทภายในนิคมอุสาหกรรมไทยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับนักลงทุนประเทศอื่นๆ โดยมีเหตุผลมาจากประเทศจีนกำลังประสบปัญหาพลังงานสำหรับอุตสาหกรรมภายในประเทศเริ่มมีไม่เพียงพอ แต่ในขณะที่ประเทศไทยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยังมีไฟฟ้าสำรองใช้อีก 40%  นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีข้อได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ในการเป็นฐานการผลิตในภูมิภาคอาเซียน เป็นศูนย์กลางทางการค้าของภูมิภาค และมีการเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์ทั้งทางถนนและระบบราง ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนใหม่ และหนึ่งในสาเหตุที่ประเทศไทยเป็นตัวเลือกที่น่าสนในสายตานักลงทุนชาวต่างชาติคือสิทธิประโยชน์จากการลงทุนในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งนักลงทุนชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ 100% ต่างจากประเทศอื่นๆ ที่ให้สิทธิ์เช่าระยะยาว รวมถึงพื้นที่ EEC มีข้อได้เปรียบในเรื่องทำเลที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ใกล้ถนนเส้นทางหลวงที่ซึ่งกำลังมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นที่พื้นฐานที่สำคัญคือ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุด สนามบินอู่ตะเภา สนามบินสุวรรณภูมิและเส้นทางรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน

แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต วิรีศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. เผยว่า นิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค จังหวัดระยอง ที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นผู้ดำเนินงาน มีพื้นที่ 1,383.76 ไร่ คาดว่าจะเปิดดำเนิการได้ในปี 2567 เพื่อรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายคาร์บอนต่ำ ได้แก่ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ แม้ว่านิคมอุตสาหกรรมในไทยจะเป็นที่จับตาของนักลงทุนต่างชาติเป็นหลัก ทาง SBCS ยินดีให้คำปรึกษาในเรื่องการขอสิทธิประโยชน์ BOI การหาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมและยินดีรับทำงานวิจัยอุตสาหกรรมการตลาดต่างๆ สำหรับผู้ประกอบการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

Contact
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สอบถามทางโทรศัพท์
+66 2 677 7270-5
10th Floor, Q. House Lumpini Building,
No. 1 South Sathorn Road, Tungmahamek, Sathorn, Bangkok 10120, Thailand