Shrinkflation คืออะไร ต่างกับ Inflation อย่างไร และทำไมเราควรรู้

ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับคำว่า Shrinkflation เราควรทำความรู้จักความหมายของคำว่า Inflation กันก่อน Inflation หรือเงินเฟ้อ คือ ภาวะที่ระดับราคาของสินค้าและบริการโดยทั่วไปในประเทศปรับตัวสูงขึ้น แต่ในเชิงมูลค่า ค่าของเงินกลับต่ำลง ตัวอย่างเช่น เมื่อก่อนถ้าเรามีเงิน 30 บาท เราสามารถซื้อไข่ไก่ได้ 10 ฟอง แต่ในปัจจุบัน เราสามารถซื้อไข่ไก่แบบเดียวกันได้แค่ 5 ฟองเท่านั้น เหตุผลที่เราสามารถซื้อได้แค่ 5 ฟอง ไม่ได้เป็นเพราะไข่ไก่นั้นมีคุณภาพที่ดีขึ้นกว่าเมื่อก่อน แต่เป็นเพราะมูลค่าของเงินในกระเป๋าเรานั้นต่ำลง

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Inflation หรือภาวะเงินเฟ้อในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนสูงกว่าที่ควรจะเป็นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิตนั้นสูงขึ้น ซึ่งหมายความว่าผู้ผลิตจะต้องแบกรับภาระตันทุนที่สูงขึ้น และหากผู้ผลิตไม่ทำอะไรสักอย่าง ก็จะเป็นดั่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอย่างกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อต้นปีพ.ศ. 2565 ที่ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 3 ยี่ห้อดัง ได้ยื่นเรื่องขอขึ้นราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ต่อกรมการค้าภายใน จากราคา 6 บาทเป็น 8 บาท โดยมีราคาวัตถุดิบต่าง ๆ มีการปรับตัวที่สูงเป็นเหตุผล อย่างไรก็ตามข้อสรุปของกรณีดังกล่าวคือกรมการค้าภายในได้ตอบรับข้อเสนอพร้อมกับอนุมัติให้ปรับราคาเพิ่มขึ้นเป็น 7 บาทเพียงเท่านั้น

เรามาดูกันว่า ผู้ผลิตจะสามารถรับมือกับปัญหาที่ต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นได้อย่างไง ลองจิตนาการว่าถ้าหากเราเป็นผู้ผลิตขนมขบเคี้ยวยี่ห้อหนึ่ง และหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของเราหรือผลิตภัณฑ์ A ขายอยู่ที่ราคา 40 บาท โดยมีขนมขบเคี้ยวบรรจุอยู่ 100 กร้ม เราจะสามารถทำอย่างไงได้บ้าง

วิธีการที่ 1 เพิ่มราคาขายจาก 40 บาทเป็น 50 บาทเนื่องจากต้นทุนเราปรับตัวขึ้น 25%

วิธีการที่ 2 ลดคุณภาพวัตถุดิบ และขายในราคา 40 บาทเท่าเดิม โดยบรรจุวัตถุดิบ 100 กรัมเท่าเดิม

วิธีการที่ 3 ปรับปริมาณวัตถุดิบลงเป็น 75 กรัม และคงคุณภาพกับราคาไว้เท่าเดิม พร้อมทั้งอาจมีการเปลี่ยนลักษณะของบรรจุภัณฑ์

มาดูกันว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรในแต่ละวิธีการ

วิธีการที่ 1 สิ่งที่จะตามมาเป็นสิ่งแรกจากการปรับราคาขึ้นเลยคือ ปริมาณการขายที่ลดลง เบ็ดเสร็จแล้วกำไรที่ได้จากวิธีนี้อาจลดลง หรือไม่ต่างจากเดิมสักเท่าไร

วิธีการที่ 2 เมื่อลดคุณภาพวัตถุดิบ ในระยะสั้นผู้บริโภคอาจจะไม่ได้สังเกตอะไรมากนัก แต่ในระยะยาวผู้บริโภคจะเริ่มรับรู้ได้ถึงคุณภาพที่ต่ำลง และอาจจะส่งผลเสียกับภาพลักษณ์ของบริษัทในระยะยาว จนส่งผลในทางลบกับยอดขายก็เป็นได้

วิธีการที่ 3 ลดปริมาณวัตถุดิบ แต่คงราคาและปริมาณเท่าเดิม วิธีการดังกล่าวอาจไม่ส่งผลเสียต่อการขายมากเท่าวิธีการที่ 1 และ 2 หากผู้บริโภคไม่ได้สังเกตเรื่องของปริมาณที่หายไป แต่ผู้บริโภคบางกลุ่มเข้าใจว่าผู้ผลิตได้ออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ อย่างไรก็ดีวิธีที่ 3 นี้ถือเป็นวิธีการที่นิยมในหมู่ผู้ผลิตเป็นอย่างมาก ซึ่งใช้ในการรับมือกับอัตราเงินเฟ้อที่ส่งให้กระบวนการผลิตและต้นทุนที่สูงขึ้น อาทิ General Mills, Doritos และ Gatorade (ภาพตัวอย่างด้านล่าง) สรุปแล้วในเชิงวิชาการ Shrinkflation คืออะไรกันแน่ ในทางเชิงเศรษฐศาสตร์ Shrinkflation คือการที่ผู้ผลิตลดขนาดหรือปริมาณสินค้าลง แต่ยังคงขายสินค้าเหล่านั้นในราคาที่เท่าเดิม หรือขึ้นราคาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นั้นเอง

ที่มาของภาพ: Businessinsider, Quartz and Target
Contact
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สอบถามทางโทรศัพท์
+66 2 677 7270-5
10th Floor, Q. House Lumpini Building,
No. 1 South Sathorn Road, Tungmahamek, Sathorn, Bangkok 10120, Thailand