สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์โควิด 19 และการระบาดของไข้หวัดชนิดต่าง ๆ ที่ทาให้ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพและการดูแลตัวเองกันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะผ่านการปรับการใช้ชีวิตประจาวัน อย่างการหันมาออกกาลังกายและปรับพฤติกรรมการกินของตน หนึ่งในพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดนั่นก็คือการกันมาบริโภคอาหารเสริม (Vitamin and Dietary Supplement) กันมากยิ่งขึ้น
หนึ่งในสารอาหารที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงเป็นอย่างมากคือ “โปรตีน” (Protein Supplement) ซึ่งนับเป็นสารอาหารที่มีหน้าที่สาคัญในการเพิ่มความแข็งแรงให้ผิวหนัง กระดูก และกล้ามเนื้อสาหรับผู้คนทุกเพศทุกวัย โดยผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพิ่มโปรตีนที่สามารถพบเห็นได้บ่อยในท้องตลาดนั่น มาทั้งในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ โปรตีนชนิดเม็ด และโปรตีนสกัดผง ให้ผู้คนได้เลือกสรรที่จะบริโภคตามความสะดวกสบายของแต่ละคน
การเติบโตของตลาดอาหารเสริมเพิ่มโปรตีนของประเทศไทย และผู้เล่นสาคัญในตลาด
จากกราฟด้านล่าง จะสามารถสังเกตเห็นได้ว่าตั้งแต่ปีค.ศ. 2016 – ค.ศ. 2021 ตลาดอาหารเสริมเพิ่มโปรตีนในประเทศไทยมีการเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในช่วงที่โควิด 19 เริ่มระบาด ปีค.ศ. 2019 ปีที่มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 2,898.3 ล้านบาท ได้เพิ่มขึ้นเป็น 3,150.5 ล้านในปีค.ศ. 2020 และเป็นมูลค่า 3,323.8 ล้านบาทในปีค.ศ. 2021 ตามลาดับ
โดยการสำรวจรายชื่อผู้เล่นสำคัญในตลาดอาหารเสริมเพิ่มโปรตีนของประเทศไทยของปีค.ศ. 2021 พบว่า โปรตีนสกัดแบบผง Nutrilite ของบริษัท Amway Corp. บริษัทที่เป็นที่โด่งดังด้านอาหารเสริมมาแต่ช้านานนั้นนำมาเป็นอันดับหนึ่ง โดยการครองถึงร้อยละ 86.0 ของตลาด และตามมาด้วยผลิตภัณฑ์ที่รังสรรค์โดยบริษัทที่เป็นที่รู้จักในวงการอาหารเสริมอยู่แต่ดั้งเดิมอย่าง โปรตีนชนิดเม็ด Banner ของ Osotspa Co., Ltd. โปรตีนสกัดผง Herbalife ของ Herbalife Nutrition Ltd. โปรตีนสกัดผง Giffarine ของ Giffarine Group และ โปรตีนสกัดผง GNC โดย Harbin Pharmaceutical Group
เทรนผลิตภัณฑ์เสริมโปรตีนที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน
นอกจากผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโปรตีนใน 5 อันดับข้างต้น หากลองสังเกตในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะพบว่ามีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเกิดขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก โดยในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมโปรตีนให้เราเลือกซื้ออยู่มากมายหลายยี่ห้อ บ้างถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ บ้างผลิตโดยผู้ผลิตอาหารเสริมหรือเครื่องดื่มชั้นนำของประเทศ และบ้างเป็นผลผลิตจากสตาร์ทอัพของกลุ่มคนรุ่นใหม่ อันสอดคล้องกับการคาดการณ์ความต้องการบริโภคโดย Euromonitor ที่พบว่า อุปสงค์ต่ออาหารเสริมเพิ่มโปรตีนมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จาก 3,400.2 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา ไปจนถึง 3,879.2 ล้านบาทในปีค.ศ. 2026 จึงสามารถสรุปได้ว่า ตลาดอาหารเสริมเพิ่มโปรตีนของประเทศไทยที่กำลังเติบโตขึ้นจะยังคงเติบโตต่อไปอย่างมั่นคงเนื่องด้วยความต้องการของผู้บริโภคที่ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา
ที่มา : Euromonitor