การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ คืออะไร
Net Zero คือการสร้างสมดุลให้สภาพภูมิอากาศของโลกด้วยการ “จำกัด” การปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับการ “กำจัด” ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศไปแล้ว สําหรับการดําเนินงานของประเทศไทย นับตั้งแต่ประเทศไทยเข้าเป็นนภาคี
กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) เมื่อปี พ.ศ. 2537 ประเทศไทยได้ดําเนินการร่วมกับนานาประเทศในการรักษาระดับ ความเข้มข้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และตั้งรับปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในวันที่ 4 สิงหาคม 2564 มีการเห็นชอบกรอบแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) ซึ่งได้กำหนดแนวนโยบายภาคพลังงาน เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถมุ่งสู่พลังงานสะอาด และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนไดออกไซด์) สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายใน ค.ศ. 25660 – 2570 (พ.ศ. 2608 – 2613) หรืออีก 49 ปีข้างหน้า
ในขณะที่ภาคเอกชนได้พยายามร่วมมือ และพลักดันเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย “Carbon neutrality” หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ถูกดูดซับกลับคืนมาภายในปีค.ศ. 2050 โดยมี
- บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG มีนโยบายลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20% จากปีค.ศ. 2020 และตั้งเป้าให้เป็น Net Zero ภายในปีค.ศ. 2050
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ประกาศ Net Zero Commitment โดยตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิจากการดำเนินงานของธนาคารเป็นศูนย์ภายในปีค.ศ. 2030 อีกทั้งธนาคารตั้งเป้าสนับสนุนด้านการเงินและการลงทุนเพื่อความยั่งยืนไม่น้อยกว่า 1 – 2 แสนล้านบาท ภายในปีค.ศ. 2030
- บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีแผนสู่ Net Zero ในปีค.ศ. 2050 และตั้งเป้าแรกในปีค.ศ. 2030 เป็นCarbon Neutrality ด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยตัวเองให้ได้ 50% และชดเชยด้วยวิธีอื่นอีก 50%
- บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด มีแผนสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเป็น Carbon Neutrality ในปีค.ศ. 2050 และมีเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนในการผลิตพลังงานไฟฟ้าให้กับ 50 ล้านครัวเรือน ในปีค.ศ. 2030
- บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ได้กำหนดกลยุทธ์ Greener & Smarter ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลุยพัฒนาพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเป็น 1,100 เมกะวัตต์ พร้อมธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานอีก 500 เมกะวัตต์ ภายในปีค.ศ. 2025
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ธุรกิจในหลายๆ อุตสาหกรรมหันมาปรับตัว และให้ความสนใจเกี่ยวกับ “พลังงานสะอาด” อีกทั้งมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์มากขึ้น ทาง SBCS เชื่อว่า ถ้าทุกองค์กรร่วมลงมือทำอย่างจริงจัง ในอนาคต “พลังงานสะอาด” น่าจะได้รับพิจารณาให้เป็นนโยบายระดับชาติอย่างจริงจังและต่อเนื่องต่อไป