Startup คืออะไร? หากสนใจลงทุนใน Startup ต้องวิเคราะห์อะไรบ้าง?

หลายปีที่ผ่านมา “Startup” ได้ถูกพูดถึงกันอย่างแพร่หลายในแวดวงธุรกิจและการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกธุรกิจยุค 4.0 ไอเดียและนวัตกรรมสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทในการสร้างสรรธุรกิจใหม่ๆมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในรูปแบบที่แตกต่างไป บทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับนิยามของ Startup และสิ่งที่นักลงทุนควรคำนึงก่อนตัดสินใจลงทุนใน Startup

แบบที่แตกต่างไป บทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับนิยามของ Startup และสิ่งที่นักลงทุนควรคำนึงก่อนตัดสินใจลงทุนใน Startup

Startup คืออะไร?

 “Startup” (สตาร์ทอัพ) ถูกนิยามในความหมายที่หลากหลาย แต่มีความหมายที่คล้ายๆกันว่าคือ ธุรกิจเกิดใหม่ที่มักมีไอเดียมาจากนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและตอบสนองโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และหากธุรกิจนี้ประสบความสำเร็จ เราจะเห็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดกว่าธุรกิจทั่วไป

จะลงทุนใน Startup ได้อย่างไรบ้าง?

การทำธุรกิจทุกประเภทล้วนต้องการเงินลงทุน Startup ก็เช่นกัน แหล่งเงินทุนของ Startup อาจเริ่มต้นจากการใช้เงินลงทุนส่วนตัว เงินลงทุนจากครอบครัว Crowdfunding, Angel investors, Incubators รวมถึงจาก Venture Capital Firms ซึ่งเป็นผู้ลงทุนที่มีความสามารถในการสนับสนุนเงินลงทุนเป็นจำนวนมาก

  • Venture capital (VC) หรือ ธุรกิจการร่วมลงทุน คือกิจการที่มีการจัดสรรเงินลงทุนเพื่อเข้าไปถือหุ้นในธุรกิจ Startup ทั้งในช่วงระดมทุนเพื่อเริ่มธุรกิจและในช่วงของการเติบโต ทั้งนี้ธุรกิจการร่วมลงทุนอาจจะเป็นกิจการมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การสนับสนุนเงินทุนแก่ Startup โดยเฉพาะ หรืออาจเป็นกิจการอื่นที่มองเห็นโอกาสในการสานต่อทางธุรกิจและควบรวมกิจการในอนาคต

หากสนใจลงทุนใน Startup ต้องวิเคราะห์อะไรบ้าง?

โครงสร้างทางธุรกิจของ Startup อาจดูคล้ายกับธุรกิจทั่วไป แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้ Startup แตกต่างจากธุรกิจทั่วไปและได้รับความสนใจในการลงทุนมากกว่าคือ ความสามารถในการสร้างความโดดเด่นทางธุรกิจ ซึ่งสามารถสะท้อนมาจากปัจจัยต่างๆเหล่านี้

  • Business model: ถือเป็นหัวใจสำคัญของ Startup แผนธุรกิจที่ควรค่าแก่การลงทุนจะต้องแสดงให้เห็นถึงจุดเด่นของสินค้าและบริการ วิธีการในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมถึงกลยุทธ์ที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ และสร้างความสามารถในการแข่งขันเหนือคู่แข่งรายอื่น
  • Market: ธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้ก็ด้วยการตอบรับของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ฉะนั้นยิ่งตลาดมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าไหร่ มีการตอบรับที่ดีต่อสินค้าหรือบริการที่นำเสนอมากเพียงใด จะแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการสร้างรายได้และผลตอบแทนมากขึ้นเท่านั้น
  • Future plan: ธุรกิจควรจะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและก้าวกระโดดในอนาคต ซึ่งอาจเป็นการคาดการณ์การขยายตลาดไปยังตลาดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีแผนการบริหารการลงทุนและการเงินที่ชัดเจนเพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถประเมินผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุน
  • Management team: ทีมผู้บริหารเปรียบเสมือนหัวเรือในการนำธุรกิจไปในทิศทางที่ต้องการ ยิ่งผู้บริหารมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสินค้าและบริการ และเข้าใจตลาดมากเพียงใด ย่อมแสดงให้เห็นถึงแรงผลักดันที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้มากขึ้นเท่านั้น

สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงปัจจัยเบื้องต้นในการพิจารณาก่อนตัดสินใจลงทุนใน Startup เท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่นที่นักลงทุนยังต้องคำนึงเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน เช่น ความเสี่ยงที่ธุรกิจจะไม่ประสบความสำเร็จตามแผน หรือใช้เวลานานเกินไปกว่าจะได้รับผลตอบแทนคืนทุน ด้วยเหตุนี้ การศึกษาวิจัยการตลาดและธุรกิจเชิงลึกเกี่ยวกับธุรกิจจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้การลงทุนของท่านสร้างผลตอบแทนได้อย่างต่อเนื่องและก้าวกระโดดเชกเช่น Startup ที่ประสบความสำเร็จ

Contact
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สอบถามทางโทรศัพท์
+66 2 677 7270-5
10th Floor, Q. House Lumpini Building,
No. 1 South Sathorn Road, Tungmahamek, Sathorn, Bangkok 10120, Thailand