ภาพรวมและแนวโน้มนิคมอุตสาหกรรมประเทศไทยในอนาคต

นิคมอุตสาหกรรมหมายถึงเขตพื้นที่ดินซึ่งถูกจัดสรรไว้สำหรับจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมรวมกันอย่างเป็นสัดส่วน นิคมอุตสาหกรรมสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ (1) เขตอุตสาหกรรมทั่วไป (General Industrial Zone) คือเขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม การบริการหรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์ หรือเกี่ยวเนื่องกับการประกอบอุตสาหกรรมหรือ การบริการ  (2) เขตประกอบการเสรี (I-EA-T Free Zone) คือ เขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรมพาณิชยกรรม โดยผู้ประกอบการที่เข้ามาทำธุรกิจในนิคมอุตสาหกรรมจะได้สิทธิประโยชน์กว่าผู้ประกอบการธุรกิจในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปดังนี้ การได้รับสิทธิ์ยกเว้นค่าธรรมเนียมอากรขาเข้า-ออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องจักร วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์  ได้รับการอำนวยความสะดวกในการนำของเข้าไปในเขตประกอบการเสรีโดยจะได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรดังนี้ของที่นำเข้าเพื่อส่งออกไม่อยู่ภายใต้การควบคุมมาตรฐาน หลายปีที่ผ่านมา จำนวนนักลงทุนจีนได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ทำให้สัดส่วนจำนวนนักลงทุนจีนที่ได้มาจัดตั้งโรงงานและบริษัทภายในนิคมอุสาหกรรมไทยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับนักลงทุนประเทศอื่นๆ โดยมีเหตุผลมาจากประเทศจีนกำลังประสบปัญหาพลังงานสำหรับอุตสาหกรรมภายในประเทศเริ่มมีไม่เพียงพอ แต่ในขณะที่ประเทศไทยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยังมีไฟฟ้าสำรองใช้อีก 40%  นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีข้อได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ในการเป็นฐานการผลิตในภูมิภาคอาเซียน เป็นศูนย์กลางทางการค้าของภูมิภาค และมีการเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์ทั้งทางถนนและระบบราง ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนใหม่ และหนึ่งในสาเหตุที่ประเทศไทยเป็นตัวเลือกที่น่าสนในสายตานักลงทุนชาวต่างชาติคือสิทธิประโยชน์จากการลงทุนในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งนักลงทุนชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ 100% ต่างจากประเทศอื่นๆ ที่ให้สิทธิ์เช่าระยะยาว รวมถึงพื้นที่ EEC มีข้อได้เปรียบในเรื่องทำเลที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ใกล้ถนนเส้นทางหลวงที่ซึ่งกำลังมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นที่พื้นฐานที่สำคัญคือ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุด สนามบินอู่ตะเภา สนามบินสุวรรณภูมิและเส้นทางรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน… Continue reading ภาพรวมและแนวโน้มนิคมอุตสาหกรรมประเทศไทยในอนาคต

อุตสาหกรรมดิจิทัลและโอกาสการลงทุนในประเทศไทย

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมแห่งโลกอนาคต หรือที่เรียกว่าไทยแลนด์ 4.0 (Thailand 4.0) ที่มีการนำเทคโนโลยีและดิจิทัลมาช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเพื่อการเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด หลากหลายธุรกิจได้นำนวัตกรรม อาทิ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และการประมวลผลผ่านระบบคลาวด์ (Cloud Computing) มาช่วยเสริมสร้างจุดแข็งและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ สิ่งเหล่านี้ทำให้อุตสาหกรรมดิจิทัลกลายเป็นหนึ่งในอุสาหกรรมที่น่าจับตามองมากที่สุดในขณะนี้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ร่วมกับสถาบันไอเอ็มซี (IMC Institute) คาดการณ์ว่าในปี 2564 อุตสาหกรรมดิจิทัลไทยจะมีมูลค่าถึง 700,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 10% จากปี 2563 ซึ่งมีมูลค่า 650,514 ล้านบาท ทางด้านการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้กำหนดให้อุตสาหกรรมดิจิทัลเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สอดคล้องกับการยกระดับสู่ไทยแลนด์ 4.0 ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 อุตสาหกรรมดิจิทัลเป็นอุตสาหกรรมที่มีจำนวนคำขอรับการลงทุนมากที่สุดถึง 126 โครงการ หรือคิดเป็นเงินลงทุนทั้งสิ้น 8,970 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 763%… Continue reading อุตสาหกรรมดิจิทัลและโอกาสการลงทุนในประเทศไทย

อนาคตอุตสาหกรรมแบตเตอร์รี่ไฟฟ้าในประเทศไทยกับโอกาสการลงทุนจากบริษัทข้ามชาติ

จำนวนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) จากทั่วโลกมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในประเทศไทยมีข้อมูลยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าปี 2020 ที่เติบโตมากถึง 128.4% เมื่อเที่ยบกับปีที่ผ่านมา โดยกรุงเทพธุรกิจเผิดเผยว่า จากเดือนมกราคม ถึงสิงหาคม 2021 ประเทศไทยมีรถยนต์ไฟฟ้าที่จดทะเบียนใหม่ จำนวน 33,819 คัน ในขณะที่ทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าแห่งประเทศไทย พยายามผลักดันให้มียานยนต์ไฟฟ้าในประเทศรวม 1.2 ล้านคันในปี 2036 ในระดับภาคอุตสาหกรรม ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก อาทิเช่น แบตเตอรี่ ซึ่งทางคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ได้ออกแนวทางการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า ตามนโยบาย 30/30 คือการตั้งเป้าผลิตรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ZEV (Zero Emission Vehicle) ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 อีกทั้งมีแผนการขยายสถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้าสาธารณะให้เพิ่มขึ้น โดยกำหนดให้มีสถานีแบบ Fast Charge (DC) ทั้งหมด 12,000 หัวจ่าย ทั่วประเทศ รวมทั้ง เสนอให้มีการลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่มาจากประเทศอื่นๆ ให้เป็น 0% นอกเหนือจากการนำเข้ามาจากประเทศจีน ในขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน… Continue reading อนาคตอุตสาหกรรมแบตเตอร์รี่ไฟฟ้าในประเทศไทยกับโอกาสการลงทุนจากบริษัทข้ามชาติ

Contact
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สอบถามทางโทรศัพท์
+66 2 677 7270-5
10th Floor, Q. House Lumpini Building,
No. 1 South Sathorn Road, Tungmahamek, Sathorn, Bangkok 10120, Thailand