EEC และการลงทนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย

โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor(EEC) หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ อีสเทิร์นซีบอร์ด (Eastern Seaboard) เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพื้นที่ใน 3 จังหวัดพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ได้แก่ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา ให้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย EEC มีโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ที่มีความพร้อมรับกับทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือแหลมฉบัง หนึ่งในท่าเรือน้ำลึกหลักสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งล่าสุดทาง EEC มีแผนที่จะพัฒนาท่าเรือแห่งนี้ให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าของภูมิภาคอินโดจีนและประตูการค้าสำคัญที่สามารถรองรับตู้สินค้าที่เพิ่มขึ้นและรองรับการขนส่งของอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ นอกจากนี้ EEC ยังอยู่ระหว่างพัฒนารถไฟความเร็วสูงที่จะเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา ให้มีความรวดเร็วและสะดวกสบายด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง และยังมีแผนที่จะพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความจุในการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติและสินค้าเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ และเมื่อพัฒนาแล้วเสร็จจะสามารถรองรับการขนส่งได้ 31 ล้านตันต่อปี ภาพรวมพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) สำหรับนักลงทุนที่สนใจจะเข้ามาเริ่มดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ทาง EEC ได้กำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายตามแผนการพัฒนาประเทศไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาลไว้ 12 กลุ่ม ได้แก่ การยกระดับ… Continue reading EEC และการลงทนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย

เจาะตลาดสินค้าแบรนด์หรูในปี 2564

ในปัจจุบัน สินค้าแบรนด์หรูนับเป็นวัตถุอย่างหนึ่งที่ใช้ในการแสดงตัวตน สไตล์ และรสนิยมของผู้บริโภค โดยสินค้าแบรนด์หรูเหล่านี้จะสร้างทัศนคติในการซื้อสินค้าและบริการของตนเองว่าเป็นการได้ครอบครองสถานะทางสังคม ผ่านการแสดงความหายาก คุณภาพและการผลิตชิ้นงานที่เหนือกว่าสินค้าอื่น ๆ ในตลาด Mass ซึ่งทำให้ความต้องการสินค้า (อุปสงค์) และราคาเพิ่มขึ้น จากฐานข้อมูล EMIS ในปีที่ผ่านมา กลุ่มสินค้าลักชัวรีในกลุ่มสินค้าส่วนบุคคลมีมูลค่าสูงถึง 67,428 ล้านบาท และคาดว่าจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนมีมูลค่าสูงถึง 99,183 ล้านบาทภายในปี 2569 โดยคาดว่าจะมีอัตราเติมโตร้อยละ 8 ต่อปีเลยทีเดียว โดยมีเหตุผลหลัก ๆ คือจำนวณประชากรที่มีเงินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ    (affluent individuals) และเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นทำให้การเข้าถึงสินค้าง่ายขึ้น หากแบ่งตามสัดส่วนภายในของสินค้าลักชัวรีในกลุ่มสินค้าส่วนบุคคล จะพบว่า สินค้าประเภทเสื้อและรองเท้า (Designer apparel and Footwear) มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 29 ตามมาด้วยสินค้าประเภทเครื่องหนัง (Luxury Leather goods) ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 23 และสินค้าเพื่อความงามและดูแลร่างกาย (Premium Beauty and personal… Continue reading เจาะตลาดสินค้าแบรนด์หรูในปี 2564

ประเทศไทยกับเรื่อง “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” (net zero emissions)

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ คืออะไร Net Zero คือการสร้างสมดุลให้สภาพภูมิอากาศของโลกด้วยการ “จำกัด” การปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับการ “กำจัด” ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศไปแล้ว สําหรับการดําเนินงานของประเทศไทย นับตั้งแต่ประเทศไทยเข้าเป็นนภาคี กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) เมื่อปี พ.ศ. 2537 ประเทศไทยได้ดําเนินการร่วมกับนานาประเทศในการรักษาระดับ ความเข้มข้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และตั้งรับปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในวันที่ 4 สิงหาคม 2564 มีการเห็นชอบกรอบแผนพลังงานชาติ  (National Energy Plan) ซึ่งได้กำหนดแนวนโยบายภาคพลังงาน เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถมุ่งสู่พลังงานสะอาด และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนไดออกไซด์) สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายใน ค.ศ. 25660 – 2570 (พ.ศ. 2608 – 2613)… Continue reading ประเทศไทยกับเรื่อง “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” (net zero emissions)

ภาพรวมอุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016-2021

2 ปีมาแล้วที่สังคมโลกต้องเผชิญกับวิกฤติโรคระบาด “โควิด-19” ที่ทำให้สภาวะเศรษฐกิจถดถอยจนเปลี่ยนชีวิตหลายๆ ครอบครัว บ้างต้องตกงานกระทันหัน บ้างแม้จะยังมีงานทำก็กลับมีรายได้ก็ลดลง คนไทยในช่วงเวลานี้จึงต้องประหยัดกินประหยัดใช้กันเป็นพิเศษ และหนึ่งในวิธีการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายที่สามารถพบได้ทั่วไปคือ การพึ่งพา “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” อาหารที่มีราคาถูกและช่วยให้อิ่มท้องได้ยาวนาน  บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารที่รับประทานได้ง่าย เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย และยังเป็นอาหารที่คนไทยซื้อมารับประทานกันอยู่เป็นประจำ ไปจนกระทั่งซื้อไว้ติดบ้านเสมือนเป็นเรื่องปกติ  จึงทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นที่นิยมอย่างมาก รู้หรือไม่ ตลาดโลก (Global market size) ของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในปีค.ศ. 2021 มีขนาดใหญ่ถึง 33,254.3 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีประเทศจีนมาเป็นอันดับหนึ่งในด้านการซื้อขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ตามด้วยประเทศญี่ปุ่นมาเป็นอันดับสอง และประเทศไทยมาเป็นอันดับที่สิบ  ทั้งนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่าตลาดโลกของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปดังแผนภาพข้างต้น จะยังคงเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ด้วยอัตราการเติบโตร้อยละ 4.1 ต่อปี และคาดว่าจะเติบโตขึ้นสูงถึง 40,708.7 ล้านเหรียญสหรัฐในปีค.ศ. 2026 ในส่วนของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของประเทศไทยที่มีมูลค่าสูงถึง 661.9 ล้านเหรียญสหรัฐในปีค.ศ. 2021 นั้นมีการคาดการณ์ว่าจะยังคงเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ด้วยอัตราการเติบโตร้อยละ 6.0 หรือจนมีมูลค่ามากถึง 886.2 ล้านเหรียญสหรัฐในปีค.ศ. 2026 โดยปัจจัยสนับสนุนหลากหลายด้าน อาทิ เช่น เศรษฐกิจชะลอตัวทำให้ประชาชนลดการใช้จ่ายกับสิ่งไม่จำเป็น… Continue reading ภาพรวมอุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016-2021

Startup คืออะไร? หากสนใจลงทุนใน Startup ต้องวิเคราะห์อะไรบ้าง?

หลายปีที่ผ่านมา “Startup” ได้ถูกพูดถึงกันอย่างแพร่หลายในแวดวงธุรกิจและการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกธุรกิจยุค 4.0 ไอเดียและนวัตกรรมสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทในการสร้างสรรธุรกิจใหม่ๆมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในรูปแบบที่แตกต่างไป บทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับนิยามของ Startup และสิ่งที่นักลงทุนควรคำนึงก่อนตัดสินใจลงทุนใน Startup Startup คืออะไร?  “Startup” (สตาร์ทอัพ) ถูกนิยามในความหมายที่หลากหลาย แต่มีความหมายที่คล้ายๆกันว่าคือ ธุรกิจเกิดใหม่ที่มักมีไอเดียมาจากนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและตอบสนองโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และหากธุรกิจนี้ประสบความสำเร็จ เราจะเห็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดกว่าธุรกิจทั่วไป จะลงทุนใน Startup ได้อย่างไรบ้าง? การทำธุรกิจทุกประเภทล้วนต้องการเงินลงทุน Startup ก็เช่นกัน แหล่งเงินทุนของ Startup อาจเริ่มต้นจากการใช้เงินลงทุนส่วนตัว เงินลงทุนจากครอบครัว Crowdfunding, Angel investors, Incubators รวมถึงจาก Venture Capital Firms ซึ่งเป็นผู้ลงทุนที่มีความสามารถในการสนับสนุนเงินลงทุนเป็นจำนวนมาก Venture capital (VC) หรือ ธุรกิจการร่วมลงทุน คือกิจการที่มีการจัดสรรเงินลงทุนเพื่อเข้าไปถือหุ้นในธุรกิจ Startup ทั้งในช่วงระดมทุนเพื่อเริ่มธุรกิจและในช่วงของการเติบโต ทั้งนี้ธุรกิจการร่วมลงทุนอาจจะเป็นกิจการมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การสนับสนุนเงินทุนแก่ Startup โดยเฉพาะ หรืออาจเป็นกิจการอื่นที่มองเห็นโอกาสในการสานต่อทางธุรกิจและควบรวมกิจการในอนาคต หากสนใจลงทุนใน Startup ต้องวิเคราะห์อะไรบ้าง?… Continue reading Startup คืออะไร? หากสนใจลงทุนใน Startup ต้องวิเคราะห์อะไรบ้าง?

ทำความรู้จัก “SWIFT” ระบบธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ ที่ประเทศรัสเซียโดนกีดกัน

SWIFT is like Twitter The Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication: SWIFT (สวิฟต์) หรือ สมาคมเพื่อการโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก เป็นเครือข่าย และฟันเฟืองสำคัญในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบคำสั่งข้อความที่ช่วยให้การโอนเงินข้ามประเทศจากธนาคารทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว ราบรื่น และปลอดภัย ซึ่สวิฟต์มีสำนักงานใหญ่ของตั้งอยู่ที่ La Hulpe, ใกล้กับกรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม ก่อตั้งโดยธนาคารสหรัฐฯ และธนาคารยุโรปหลายแห่ง ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2516 (ค.ศ.1973) และเริ่มเปิดให้บริการในปีพ.ศ. 2520 (ค.ศ.1980) ปัจจุบันมีสถาบันการเงินกว่า 11,000 แห่งใช้บริการชำระเงินผ่านระบบสวิฟต์ ซึ่งครอบคลุมการใช้งานอยู่ถึง 200 ประเทศ   ซึ่งจากบทความใน Money Buffalo มีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินสรุปไว้ว่า “ระบบสวิฟต์ เปรียบเสมือน Twitter ของธนาคาร ซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่โยกย้ายเงินไปมา แต่ระบบสวิฟต์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเงิน” SWIFT มีความสำคัญต่อรัสเซีย ธนาคารแห่งชาติของเบลเยียมร่วมมือกับธนาคารกลางที่สำคัญหลายแห่งทั่วโลกในการดูแลระบบสวิฟต์ ซึ่งเป็นตัวกลางรับส่งข้อมูลการโอนเงินระหว่างประเทศ ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมของธนาคารไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไหน เฉพาะปีพ.ศ.… Continue reading ทำความรู้จัก “SWIFT” ระบบธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ ที่ประเทศรัสเซียโดนกีดกัน

มาเรียนรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) กัน

เป็นที่รู้กันดีว่ารถยนต์ไฟฟ้านั้นแตกต่างจากรถยนต์สันดาปตรงที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อนแทนน้ำมันเชื้อเพลิง และรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่มีตัวเครื่องยนต์ (Engine) และระบบเกียร์ (Transmission) ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกเพิ่มเติมในส่วนของส่วนประกอบสำคัญ 7 อย่างที่มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนของรถยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ มอเตอร์ (Motor) รีดิวเซอร์ (Reducer) แบตเตอร์รี่ (Battery) ระบบ การจัดการแบตเตอรี่(Battery Management System) ระบบควบคุมอุณหภูมิแบตเตอรี่ (Battery heating System) ระบบชาร์จไฟฟ้าแบบออนบอร์ด (on-board charger) และ ชุดควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าในรถยนต์ (Electric Power Control Unit (EPCU)) มอเตอร์ (Motor) หากเปรียบเป็นเครื่องยนต์สันดาป มอเตอร์ก็คือเครื่องยนต์ของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า (electricity) ให้เป็นพลังงานจลน์ (kinetic energy) ซึ่งจุดเด่นของตัวมอเตอร์ คือ เสียงที่เงียบจากการที่มีแรงสั่นสะเทือนที่น้อยกว่าเครื่องยนต์ทั่วไป นอกจากนี้ ระบบส่งกำลังบนเครื่องยนต์ไฟฟ้านั้นยังมีขนาดเล็กกว่าเครื่องยนต์สันดาปเป็นอย่างมาก จึงทำให้รถยนต์มีพื้นที่เยอะขึ้น ลดข้อจำกัดในการออกแบบรถยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ขยายพื้นที่ที่นั่งให้มีระยะมากขึ้น หรือขนาดช่องใส่สัมภาระที่ใหญ่ขึ้น                 โดยหลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า… Continue reading มาเรียนรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) กัน

ข้อตกลงการค้าเสรี RCEP และประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ

 หลังจากที่ข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่สุดในโลกอย่าง The  Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP)  หรือความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคได้เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา หลายภาคส่วนต่างจับตามองว่าความร่วมมือทางการค้านี้จะสร้างประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจและการลงทุนในกลุ่มประเทศสมาชิกรวมถึงประเทศไทยอย่างไรบ้าง บทความนี้จะช่วยตอบคำถามนี้และสรุปประเด็นสำคัญที่นักลุงทุนควรทราบ ในภาพรวม RCEP เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน ( ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย) และ 5 ประเทศคู่เจรจา (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) ซึ่งเป็นความตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่สุดในโลกครอบคลุมประชากรรวมกัน 2,300 ล้านคน (30.2% ของประชากรโลก) GDP รวมมูลค่า 28.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (33.6% ของ GDP โลก) และมูลค่าการค้ารวม 10.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (30.3% ของมูลค่าการค้าของโลก) โดยความร่วมมือนี้จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการค้า… Continue reading ข้อตกลงการค้าเสรี RCEP และประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ

CPTPP กับโอกาส และผลกระทบของประเทศไทย

หลายคนคงสงสัยว่า ตัวอักษรภาษาอังกฤษ 5 ตัวนี้ “CPTPP” คืออะไร แล้วทำไมหลายภาคส่วนถึงให้ความสนใจ ข้อตกลงทางการค้า “ซีพีทีพีพี” (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership: CPTPP) เป็นข้อตกลงการค้าเสรีระหว่าง 11 ประเทศ ในแถบภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรเลีย, บรูไน ดารุสซาลาม, แคนาดา, ชิลี, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, เม็กซิโก, นิวซีแลนด์, เปรู, สิงคโปร์ และเวียดนาม โดยพัฒนามาจากการเจรจาข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ “ทีพีพี” (Trans-Pacific Partnership: TPP) ซึ่งเดิมทีมี “สหรัฐอเมริกา” รวมอยู่ด้วยก่อนที่ภายหลังจะถอนตัวออกมา ซึ่งข้อแตกต่างระหว่าง CPTPP กับ TPP คือขนาดของเศรษฐกิจ และการค้าที่เล็กลง แต่มีกฎเกณฑ์ที่ผ่อนคลายมากขึ้น CPTPP จะส่งผลดีกับประเทศอื่นๆ อย่างไร ประเทศญี่ปุ่น –… Continue reading CPTPP กับโอกาส และผลกระทบของประเทศไทย

Subscription Model: โมเดลธุรกิจใหม่แห่งยุคดิจิทัล

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโลกของเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลแบบเต็มตัว เทคโนโลยีต่างๆถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วเพื่อตอบรับกับการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้การแพร่ระบาดของโรคโควิดยังเป็นตัวเร่งให้ผู้คนได้ใช้ระบบดิจิทัลกันมากขึ้น และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจ เช่น ระบบบริการสมัครสมาชิก (Subscription model) จากเดิมที่เราคุ้นเคยกับระบบบริการสมัครสมาชิกธุรกิจแนวนิตยสาร หนังสือพิมพ์ หรือผู้ให้บริการทางโทรศัพท์ ที่สมัครผ่านตัวแทนจำหน่ายที่มานำเสนอถึงบ้าน ทางไปรษณีย์ หรือทางโทรศัพท์ ปัจจุบันเราเริ่มเห็นการสมัครสมาชิกทางออนไลน์ของหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ รวมถึงการนำมาใช้ในธุรกิจอื่นๆ อย่าง Netflix, Spotify และ Adobe ระบบบริการสมัครสมาชิกแบบออนไลน์นี้ เป็นอีกทางเลือกสำคัญที่ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าและบริการต่างๆ ได้อย่างสะดวกมากขึ้น Subscription Model คืออะไร Subscription Business Model คือโมเดลธุรกิจที่ให้ลูกค้าจ่ายค่าบริการเป็นรายวัน รายเดือนหรือรายปี เพื่อให้สามารถใช้สินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง และเก็บค่าบริการไปเรื่อยๆ แทนการจ่ายเงินซื้อสินค้าครั้งเดียวจบ Subscription Model ได้เปลี่ยนจากการทำธุรกิจแบบต้องพึ่งพาคนกลางหรือตัวแทนจำหน่าย เป็นระบบที่จะทำให้ลูกค้าเข้าถึงสินเค้าและบริการได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้ค้าคนกลาง เพียงแค่สมัครและจ่ายค่าสมาชิกเอาไว้ ก็จะได้รับสินค้าตามที่ต้องการโดยไม่ต้องเสียเวลาเข้ามาสั่งซื้อบ่อย ๆ ส่งผลให้พฤติกรรมของลูกค้าสนับสนุนสินค้าหรือบริการของคุณอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังระบบนี้ยังช่วยให้คาดการณ์รายรับในอนาคตได้อย่างแม่นยำจากจำนวนผู้สมัครสมาชิก โมเดลนี้จึงกลายเป็นที่นิยมในหลายๆธุรกิจ ประเภทของ Subscription Model   Subscription Model มี 3 รูปแบบด้วยกันดังนี้ Replenishment… Continue reading Subscription Model: โมเดลธุรกิจใหม่แห่งยุคดิจิทัล

Contact
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สอบถามทางโทรศัพท์
+66 2 677 7270-5
10th Floor, Q. House Lumpini Building,
No. 1 South Sathorn Road, Tungmahamek, Sathorn, Bangkok 10120, Thailand