ปัญญาประดิษฐ์ แบบ Generative AI จะมาเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจหรือไม่?

Artificial Intelligence (AI) แตกต่างจาก Generative AI อย่างไร Artificial Intelligence (AI) แปลเป็นภาษาไทยคือ “ความฉลาดที่มีการสร้างขึ้นมา” หรือตามที่หลายๆ คนรู้จักกันว่า “ปัญญาประดิษฐ์” คือ ชุดของ Algorithm (อัลกอริทึม) หรือกระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถอธิบายออกมาเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน และสามารถสร้างผลลัพธ์ออกมาได้เองโดยที่ไม่ต้องแนะนำวิธีการให้ ส่วน Generative AI (Gen AI) คือ AI ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะให้มีความสามารถในการ “สร้างใหม่” จากชุดข้อมูลที่มีอยู่ด้วยอัลกอริทึมแบบ Generative Model โดยสามารถนำมาใช้งานหลากหลาย เช่น การสร้างภาพ การประมวลผลจากการโดนตั้งคำถาม และการสร้างเสียงดนตรี เป็นต้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของ Gen AI คือ ChatGPT AI Chatbot ที่สามารถสื่อสารผ่านข้อความกับมนุษย์ได้อย่างฉลาดและเป็นธรรมชาติ ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทวิจัย OpenAI ประเทศสหรัฐอเมริกา นำโดย Sam Altman และมีบริษัทร่วมลงทุนหลักหลายแห่ง อาทิเช่น… Continue reading ปัญญาประดิษฐ์ แบบ Generative AI จะมาเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจหรือไม่?

Digital ID คืออะไร และทำไมคนไทยจึงควรรู้จัก Digital ID

หลังจากการประกาศเปิดตัวแอปพลิเคชัน D.DOPA ของกรมการปกครอง เพื่อให้บริการระบบ “Digital ID” อาจทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัยว่า Digital ID คืออะไร และทำไมเราจึงควรรู้จัก Digital ID นี้ ในความเป็นจริง คำแปลของ Digital ID หรือ “การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล” ค่อนข้างตรงตัวและครอบคลุมลักษณะการใช้งานโดยรวมอยู่แล้ว โดย Digital ID เป็นการนำเทคโนโลยีมาเพื่อใช้งานใน 2 กระบวนการหลัก คือ 1) การพิสูจน์ตัวตน (Identification) ซึ่งเป็นการนำอัตลักษณ์หรือสิ่งที่สามารถใช้แทนตัวบุคคล เช่น ลายนิ้วมือ บัตรประชาชน Username หรือ Password มาพิสูจน์ว่าบุคคลทางดิจิทัลนี้เป็นบุคคลเดียวกันกับในโลกความเป็นจริง และ 2) การยืนยันตัวตน (Authentication) ซึ่งเป็นกระบวนการยืนยันความเป็นจริงของอัตลักษณ์หรือสิ่งแทนตัวบุคคลนั้นอีกที ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า Digital ID เป็นเสมือนโครงสร้างพื้นฐานทางในการระบุตัวตนบนโลกดิจิทัล ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับเราในการทำธุรกรรมหรือกิจกรรมต่างๆ ทางออนไลน์ได้ การพัฒนา Digital ID ของประเทศไทยนั้นเกิดขึ้นจากความพยายามของหลายฝ่าย… Continue reading Digital ID คืออะไร และทำไมคนไทยจึงควรรู้จัก Digital ID

“The Growth of Pet Market” การเติบโตของตลาดสัตว์เลี้ยงและโอกาสทางธุรกิจเพื่อพิชิตใจคนรักสัตว์

ในปัจจุบัน การที่คนทั่วโลกรวมถึงทั้งคนไทยหันมานิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเปรียบเสมือนเปรียบเสมือนเป็นมนุษย์อีกหนึ่งคน (Pet Humanization) และเปรียบตนเป็นเสมือนพ่อและแม่ (Pet Parent) นั้นกำลังผลักดันให้ตลาดธุรกิจสัตว์เลี้ยง (Pet Market) มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดและรวดเร็วเป็นอย่างมากจนน่าประหลาดใจ โดยจากการสำรวจของทาง Euromonitor พบว่าในปี 2021 มูลค่าตลาดไทยที่ครอบคลุมถึงธุรกิจสินค้าและบริการเพื่อสัตว์เลี้ยง และตลาดธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงนั้นมีมูลค่าสูงถึง 3,954 ล้านบาท และ 40,638 ล้านบาท ตามลำดับ พร้อมทั้งยังมีการคาดการณ์ว่าทั้งมูลค่าของตลาดโลกและตลาดประเทศไทยจะยังคงเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นแน่นอน ซึ่งการคาดการณ์ความเติบโตของตลาดดังกล่าวข้างต้น มีความสอดคล้องกับผลสำรวจโดยวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดลที่มีใจความสำคัญกล่าวถึงอัตราการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้นของคนไทยและความยินยอมในการใช้จ่ายเพื่อสัตว์เลี้ยงของตน โดยผลสำรวจได้ชี้ให้เห็นว่า 39.3% ของคนไทยที่มีสัตว์เลี้ยงนั้นเสียค่าใช้จ่ายเพื่ออาหารสัตว์เลี้ยงอยู่ที่ 1,000 – 2,000 บาทต่อเดือน และจากผู้เลี้ยงทั้งหมด กลุ่มคนจำนวนมากกว่าครึ่งหรือ 57.5% กำลังเสียค่าใช้บริการเพื่อสัตว์เลี้ยง อาทิ การอาบน้ำ ตัดขน อยู่ที่ 1,001 – 3,000 บาทต่อเดือน อันแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจและกำลังซื้อของคนไทยผู้มีสัตว์เลี้ยงอย่างเห็นได้ชัด แน่นอนว่าการเติบโตที่ก้าวกระโดดที่มาพร้อมทั้งความเต็มใจและกำลังซื้อของกลุ่มคนไทยผู้มีสัตว์เลี้ยงนั้นได้ดึงดูดให้หลากหลายอุตสาหกรรมหันมาเล็งเห็นถึงโอกาสในการทำธุรกิจเพื่อเจาะกลามเป้าหมายของกลุ่มคนรักสัตว์ ตัวอย่างของการริเริ่มทำธุรกิจ ขยายกิจการ หรือการสร้างสินค้าและบริการเพื่อพิชิตใจกลุ่มคนผู้มีสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความสนใจในท้องตลาดนั้นในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้นมี  (1) การประกาศแผนการขยายร้านพื่อสัตว์เลี้ยง… Continue reading “The Growth of Pet Market” การเติบโตของตลาดสัตว์เลี้ยงและโอกาสทางธุรกิจเพื่อพิชิตใจคนรักสัตว์

แนวโน้มและความต้องการของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยในอนาคต

สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV เป็นหนึ่งองค์ประกอบสำคัญในห่วงโซ่ยานยนต์ไฟฟ้า (EV value chain) โดยธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งจากรายงานของ BloombergNEF ได้มีการคาดการณ์ไว้ว่า ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง จาก 1.56 หมื่นคันในปี 2022 ไปเป็น 1.13 แสนคันในปี 2030 ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มียอดขายรวม 3.1 หมื่นคันและจะมียอดขาย 3.51 แสนคันในปี 2030 ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสถานีชาร์จ EV มีทิศทางขยายตัวตามไปด้วย ระบบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยมี 3 ประเภทประกอบด้วย ประเภทที่ 1 การอัดประจุแบบช้าด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternative Current หรือ AC Slow Charge) เป็นการอัดประจุระดับ 1 ซึ่งเป็นรูปแบบที่ถูกใช้มากที่สุดทั่วโลก โดยจะนิยมชาร์จในที่พักอาศัย เนื่องจากระยะเวลาของการชาร์จใช้เวลานาน 8-10 ชั่วโมง ประเภทที่ 2 การอัดประจุแบบปกติด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternative Current หรือ… Continue reading แนวโน้มและความต้องการของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยในอนาคต

ทำไมบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Uniqlo ถึงใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

อย่างที่เราทุกคนทราบกันดีว่าทุกวันนี้ระบบเศรษฐกิจหรือกลุ่มอุตสาหกรรมถูกขับเคลื่อนด้วยความต้องการทางสังคม แน่นอนว่าในขั้นตอนการผลิตนั้นจะต้องอาศัยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันการเพิ่มของประชากรโดยเฉลี่ยทั่วโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน และการที่ประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้นหมายถึงความต้องการในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตก็เพิ่มขึ้นด้วย ประกอบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมนานาประการ จึงทำให้โลกเราได้เผชิญหน้ากับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมในหลายประการ เช่น ปัญหาภาวะโลกร้อน ปัญหาขยะอาหาร ปัญหาขยะพลาสติก ปัญหาฝุ่นละออง และปัญหาสัตว์สูญพันธุ์ ดังนั้นจึงทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมกลายเป็นประเด็นที่ได้รับการพูดคุยกันอย่างแพร่หลายในสังคมเนื่องจาก ประชาชนมีความตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อมรับรู้ความรุนแรงของปัญหาและผลกระทบที่ตามมาจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆในการดำรงชีวิตมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ประชาชนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ผู้ประกอบการและและผู้ผลิตเองจึงเริ่มมีความตระหนักว่าการทำธุรกิจโดยไม่คำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วยจะเป็นผลเสียอย่างยิ่งในอนาคตทั้งในแง่ผลประกอบการและการยอมรับของประชาชนจึงได้เริ่มมีการทำระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเราจะยกตัวอย่างแบรนด์ที่ได้มีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยอย่าง UNIQLO  ที่มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจให้มีความยั่งยืนอย่างแท้จริงด้วยการจำกัดปริมาณการสร้างของเสียให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลง ที่มา:

“Brand collaboration” กลยุทธ์การสร้างภาพจำและขยายฐานลูกค้าอย่างมีสีสัน

ปรากฎการณ์การร่วมมือระหว่างแบรนด์ หรือ การคอลแลบส์ (Collab) ระหว่างแบรนด์ (Brand collaboration) นับเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาด (Marketing strategy) ที่สามารถพบเห็นได้ในหลายประเทศทั่วโลก เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างสีสรรค์ที่ทำให้เกิดความแปลกใหม่ ไม่จำเจในตัวแบรนด์แล้ว กลยุทธ์ดังกล่าวยังสามารถที่จะสร้างภาพจำของแบรนด์ และขยายฐานลูกค้าให้แบรนด์นั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า และส่งผลดีในระยะยาวกว่าการลงทุนทำโฆษณาฟอร์มใหญ่ในบางครั้งเสียอีก การคอลแลบส์ระหว่างแบรนด์ เป็นที่รู้จักอย่างสากลโดยการนำเสนอผ่านใช้สัญลักษณ์ “X” เชื่อมระหว่างชื่อของแบรนด์ทั้งสอง  นับเป็นการผสมผสานโดยคำนึงถึงทั้งความเหมือนและความแตกต่างที่พบกันได้อย่างลงตัว ผู้บริโภคจะสามารถพบเห็นสินค้าที่เกิดจากการคอลแลบส์วางขายอยู่ในช่องทางการขายของแบรนด์ทั้งสองฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เฉกเช่นเดียวกับสินค้าอื่น ๆ ของทางแบรนด์ เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ หลายท่านคงพอจะนึกถึงการคอลแลบส์ที่ท่านเคยเห็นผ่านตามาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการคอลแลบส์ระหว่างแบรนด์ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมแฟชั่น และในอีกหลาย ๆ อุตสาหกรรม อย่างในกรณีของสินค้าด้านบนที่จัดอยู่ในสินค้าของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม คือ (1) Nipponham X Ippudou ที่เป็นการคอลแลบส์ระหว่าง Nipponham แบรนด์ของบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตสินค้าจะพวกเนื้อสัตว์ และ Ippudo หนึ่งในร้านราเมงเลื่องชื่อของญี่ปุ่นที่ปัจจุบันได้ทำการขยายสาขามาในประเทศไทยเป็ยที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งสองบริษัทได้จับมือกันผลิต หมูชาชูสำเร็จ พร้อมนำไปปรุง อันเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถแสดงถึงจุดเด่นของทั้งสองบริษัทขึ้นมาได้อย่างเฉลียวฉลาด และ (2) Craftsake X KitKat… Continue reading “Brand collaboration” กลยุทธ์การสร้างภาพจำและขยายฐานลูกค้าอย่างมีสีสัน

โอกาสทางธุรกิจกับบทบาทของกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดแบบโยลด์ YOLD

สำหรับประเทศไทย ในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 3 ได้บัญญัติว่า ผู้สูงอายุ หมายถึง “บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย” โดยมีการคาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Completely Aged Society) หรือเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมดในปี พ.ศ. 2567 และกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society) ซึ่งหมายถึงสังคมที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดในปี พ.ศ. 2575 จากบทความของ John Parker ใน The Economist กล่าวว่า ปีค.ศ. 2020 เป็นจุดเริ่มต้นทศวรรษของ YOLD ซึ่งคำว่า “YOLD” นี้มีที่มาจากประเทศญี่ปุ่น มาจากคำว่า “Young Old” หมายถึงผู้สูงอายุที่ยังมีความกระฉับกระเฉงเหมือนหนุ่มสาว มีสุขภาพแข็งแรง มีอายุ 65-75… Continue reading โอกาสทางธุรกิจกับบทบาทของกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดแบบโยลด์ YOLD

“TikTok marketing” กลยุทธ์การเข้าถึงผู้บริโภคที่ไม่ควรมองข้าม

อย่างที่เป็นอันรู้กันว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกเพศและทุกช่วงอายุ ทำให้ธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เริ่มเห็นความสำคัญของการเข้าถึงผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์มายิ่งขึ้น โดยการสรรหากลยุทธ์การทำการตลาดบนแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อที่จะทำให้สินค้าหรือบริการของตนเป็นที่รู้จัก และมากไปกว่านั้นคือการเอาชนะใจของผู้บริโภคให้เข้ามาเป็นลูกค้าของตน เพราะฉะนั้นหากเราลองสังเกตแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ในปัจจุบันเทียบเคียงกับแพลตฟอร์มออนไลน์ในอดีตจะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าแบรนด์ต่าง ๆ นั้นกำลังแข่งขันที่จะดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคกันอย่างดุเดือด  ไม่ว่าจะผ่านการซื้อโฆษณาเพื่อยิงไปหากลุ่มเป้าหมายต่างๆ หรือที่ผู้คนเรียกกันจนติดปากว่ายิงแอด (Advertising) การทำอินฟลูเอนเซอร์ มาร์เก็ตติ้ง (Influencer marketing) แต่หนึ่งในวิธีการทำมาร์เกตติ้งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหลายประเทศทั่วโลกนั้นก็คือ การทำมาร์เกตติ้งผ่านแอพพลิเคชั่น TikTok หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า TikTok marketing แอพพลิเคชั่น TikTok เป็นแอพพลิเคชั่นเปิดตัวขึ้นในปีค.ศ. 2016 โดยบริษัท ByteDance หนึ่งในยูนิคอร์นยังใหญ่ที่สุดในวงการสตาร์ทอัพของโลก โดยความพิเศษของ TikTok นั้นคือการเปิดช่องทางให้ผู้เล่นสามารถสร้าง ดู และแชร์วิดีโอที่มีความยาวประมาณ 15 วินาที พร้อมทั้งยังสามารถใส่ฟิลเตอร์ เพลง หรือ เสียงประกอบต่าง ๆ ลงไปในวิดีโอได้ตามใจ ซึ่งการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ TikTok นั้นได้เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการณ์โควิด 19 ที่ทำให้รายได้ของบริษัทที่เคยอยู่ที่ 189 ล้านเหรียญสหรัฐในปีค.ศ. 2019… Continue reading “TikTok marketing” กลยุทธ์การเข้าถึงผู้บริโภคที่ไม่ควรมองข้าม

Shrinkflation คืออะไร ต่างกับ Inflation อย่างไร และทำไมเราควรรู้

ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับคำว่า Shrinkflation เราควรทำความรู้จักความหมายของคำว่า Inflation กันก่อน Inflation หรือเงินเฟ้อ คือ ภาวะที่ระดับราคาของสินค้าและบริการโดยทั่วไปในประเทศปรับตัวสูงขึ้น แต่ในเชิงมูลค่า ค่าของเงินกลับต่ำลง ตัวอย่างเช่น เมื่อก่อนถ้าเรามีเงิน 30 บาท เราสามารถซื้อไข่ไก่ได้ 10 ฟอง แต่ในปัจจุบัน เราสามารถซื้อไข่ไก่แบบเดียวกันได้แค่ 5 ฟองเท่านั้น เหตุผลที่เราสามารถซื้อได้แค่ 5 ฟอง ไม่ได้เป็นเพราะไข่ไก่นั้นมีคุณภาพที่ดีขึ้นกว่าเมื่อก่อน แต่เป็นเพราะมูลค่าของเงินในกระเป๋าเรานั้นต่ำลง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Inflation หรือภาวะเงินเฟ้อในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนสูงกว่าที่ควรจะเป็นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิตนั้นสูงขึ้น ซึ่งหมายความว่าผู้ผลิตจะต้องแบกรับภาระตันทุนที่สูงขึ้น และหากผู้ผลิตไม่ทำอะไรสักอย่าง ก็จะเป็นดั่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอย่างกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อต้นปีพ.ศ. 2565 ที่ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 3 ยี่ห้อดัง ได้ยื่นเรื่องขอขึ้นราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ต่อกรมการค้าภายใน จากราคา 6 บาทเป็น 8 บาท โดยมีราคาวัตถุดิบต่าง ๆ มีการปรับตัวที่สูงเป็นเหตุผล อย่างไรก็ตามข้อสรุปของกรณีดังกล่าวคือกรมการค้าภายในได้ตอบรับข้อเสนอพร้อมกับอนุมัติให้ปรับราคาเพิ่มขึ้นเป็น 7 บาทเพียงเท่านั้น… Continue reading Shrinkflation คืออะไร ต่างกับ Inflation อย่างไร และทำไมเราควรรู้

โอกาสทางธุรกิจกับการเจาะกลุ่มตลาด LGBTQ ในประเทศไทย

ในเดือนมิถุนายน ของทุกปีถือเป็น “Pride Month” หรือเดือนที่เป็นความภาคภูมิใจของกลุ่ม LGBTQ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ให้การยอมรับในความหลากหลายทางเพศ ซึ่งในเชิงการตลาดนั้น “โอกาส” และ “ศักยภาพ” ของกลุ่มผู้บริโภคชาว LGBTQ เป็นกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด (Target Market) ที่นับได้ว่ามีมูลค่ามหาศาล ซึ่งจากข้อมูลของ LGBTQ-Capital พบว่าในปี 2020 จำนวนประชากรชาว LGBTQ ในทวีปเอเชีย-แปซิฟิกที่มีอายุมากกว่า 15 ปี มีจำนวนมากถึง 175,688,000 คน โดยประเทศที่มีประชากร LGBTQ สูงสุด 5 ประเทศได้แก่ ประเทศจีน 74,700,000 คน ประเทศอินเดีย 64,600,000 คน ประเทศอินโดนิเซีย 12,700,000 คน ประเทศญี่ปุ่น 7,100,000 คน และประเทศไทย 3,600,000 คน สำหรับประเทศไทย มีการขับเคลื่อน พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม การรองรับสิทธิชอบธรรมต่างๆ ตามกฎหมาย รวมถึงการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมทางเพศ… Continue reading โอกาสทางธุรกิจกับการเจาะกลุ่มตลาด LGBTQ ในประเทศไทย

Contact
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สอบถามทางโทรศัพท์
+66 2 677 7270-5
10th Floor, Q. House Lumpini Building,
No. 1 South Sathorn Road, Tungmahamek, Sathorn, Bangkok 10120, Thailand