ผู้นำในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในปี 2023 และ 2030

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายๆ ท่านคงเคยได้ยิน ตลาดรถไฟฟ้า หรือ รถอีวี ไม่มากก็น้อย ตลาดรถอีวีมีกระแสแรงอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านยอดขายที่ได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการอุดหนุนด้านภาษี และความคึกคักจากการเข้ามารุกตลาดไทยของแบรนด์ระดับโลกต่อเนื่อง และที่สำคัญไปกว่านั้น ยอดขายรถอีวีทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ทำสถิติสูงสุดต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจโลกเผชิญวิกฤตจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดย (International Energy Agency: IEA) ระบุยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกในปี 2021 อยู่ที่ 6.6 ล้านค้นทั่วโลก ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบ 2เท่า รถอีวีมีหัวใจสำคัญคือ แบตเตอรี่ ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 40% ของมูลค่าของรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ไม่เพียงแค่ให้พลังงานให้กับรถยนต์ไฟฟ้า แต่เป็นสิ่งที่ทำให้การขับขี่ด้วยไฟฟ้าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้อีกด้วย การเติบโตของแบตเตอรี่โลหะลิเทียมเริ่มต้นในช่วงต้นของปี 2000 ซึ่งรัฐบาลทั่วโลกได้ออกนโยบายจำกัดการผลิตและใช้งานแบตเตอรรี่ที่ทำจากแร่แคดเมียม (NiCad technology) เพื่อลดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจากโลหะหนัก ซึ่งทำให้ผู้ผลิตเทคโนโลยีมาทดแทน เทคโนโลยีนั้นคือ แบตเตอรี่ลิเธียม ล่าสุดรายงานในปี 2022 ระบุว่าประเทศจีนมีกำลังการผลิตแบตเตอรรี่สูงถึง 893 GWh หรือคิดเป็น 77% ของความต้องการทั่วโลก ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก และมีผู้ผลิตลองลงมาคือประเทศ Poland โดยมีกำลังการผลิตแบตเตอรรี่เพียง… Continue reading ผู้นำในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในปี 2023 และ 2030

ผลกระทบการพึ่งพาการนำเข้าอลูมิเนียม (Aluminum) จากประเทศจีนต่อผู้ประกอบการในประเทศไทย

การบริโภคอลูมิเนียมทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาหลายปีและมีแนวโน้มจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไป จากรายงานของ UOB Industry Insight พบว่า อุตสาหกรรมที่มีความต้องการของการใช้อลูมิเนียมคืออุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมยานอวกาศ ทั้งนี้ความต้องการอลูมิเนียมของทั่วทั้งโลกมีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ถึงร้อยละ 3.8 ต่อปีในช่วงปี 2562-2567 ซึ่งสอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์ของประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอลูมิเนียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยว่า ความต้องการใช้อลูมิเนียมในตลาดโลกปี 2565 คาดว่าจะมีปริมาณ 70 ล้านตัน ส่วนในปี 2567-2568 คาดว่าจะมีความต้องการอลูมิเนียมมากกว่าเดิม เนื่องจากแนวโน้มตลาดด้านรถยนต์ไฟฟ้า, แผงโซลาร์ และกังหันพลังงานลม EV ซึ่งมาจากนโยบายการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ทั่วโลก ในส่วนของประเทศผู้ผลิตนั้น จากรายงานของ investingnews พบว่าในปี 2565 ประเทศจีนยังคงเป็นอันดับหนึ่งที่สามารถส่งออกอลูมิเนียมไปยังประเทศอื่นๆ ได้มากที่สุดถึง 40 ล้านเมตริกตัน ตามด้วย อินเดียเป็นอันดับสอง (4.0 ล้านเมตริกตัน) และรัสเซีย (3.7 ล้านเมตริกตัน) ตามลำดับ ประเทศที่ส่งออกอลูมิเนียมมากที่สุดในปี 2565 ปริมาณการส่งออก (หน่วย: ล้านเมตริกตัน) 1.ประเทศจีน 40 2.ประเทศอินเดีย 4.0… Continue reading ผลกระทบการพึ่งพาการนำเข้าอลูมิเนียม (Aluminum) จากประเทศจีนต่อผู้ประกอบการในประเทศไทย

เทคโนโลยีโลกเสมือนและความนิยมที่อาจกลับมาอีกครั้งหนึ่งในอนาคต

เมื่อนึกถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโลกเสมือน หลายคนอาจนึกถึงแว่นตา VR (VR Headset) ที่มักพบเห็นการใช้งานในวงการเกมเป็นส่วนใหญ่ แต่แท้จริงแล้วเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโลกเสมือนไม่ได้มีเพียง VR เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องถึงเทคโนโลยีอื่นๆ อย่าง AR MR XR หรือแม้แต่ Metaverse อีกต่างหาก โดยสรุปแล้วเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโลกเสมือน ได้แก่ ทั้ง 3 เทคโนโลยีสามารถเรียกโดยรวมได้ว่าเทคโนโลยี ‘Extended Reality (XR)’ ทั้งนี้ เทคโนโลยีที่กล่าวมาข้างต้นยังมีความเกี่ยวข้องกับคาว่า ‘เมตาเวิร์ส (Metaverse)’ หรือ ‘จักรวาลนฤมิตร’ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างโลกเสมือนขึ้นเพื่อรองรับการทากิจกรรมร่วมกันแบบ real time ผ่านตัวอวตาร (Avatar) ที่นามาใช้แทนตัวเราในการทากิจกรรม โดยเมตาเวิร์สได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงเกือบ 3 ปีที่ผ่านมาและยังถูกจัดให้อยู่ลาดับที่ 9 จาก 10 เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์แห่งปี 2023 (Top 10 Strategic Technology Trends for 2023) โดยบริษัทวิจัยและให้คาปรึกษาทางเทคโนโลยีชั้นนาอย่าง Gartner อย่างไรก็ตาม… Continue reading เทคโนโลยีโลกเสมือนและความนิยมที่อาจกลับมาอีกครั้งหนึ่งในอนาคต

“Nostalgia Marketing” กลยุทธ์การตลาดวันวานไม่เคยเก่า

อะไรคือการตลาด Nostalgia marketing กลยุทธ์การตลาด Nostalgia marketing คือ กลยุทธ์ที่อาศัยวิธีการเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มต่าง ๆ ผ่านการสร้างความรู้สึกคิดถึงหรือโหยหาอดีตตามความหมายตรงตัวของคำว่า “Nostalgia” ที่หมายความว่าความรู้สึกคิดถึงหรือโหยหาอดีต โดยการทำการตลาดดังกล่าวนั้นได้รับความนิยมจากความสามารถที่จะเชื่อมโยงสินค้าหรือบริการของผู้ผลิตกับผู้บริโภค และเข้าถึงความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ใน หัวใจของผู้บริโภคได้อย่างลึกซึ้ง การตลาด Nostalgia marketing มีประสิทธิภาพอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการในอุตสาหกรรมใด ๆ ความต้องการจากผู้บริโภคนั้นย่อมเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อที่จะทำให้สินค้าและบริการนั้นอยู่รอดท่ามการการแข่งขันที่ไม่เคยหยุดนิ่ง หากแต่ความต้องการดังกล่าว ยังต้องไม่เป็นเพียงความต้องการที่ฉาบฉวยแต่ต้องเกิดจากการได้รับรู้สารและเข้าใจถึงสินค้าหรือบริการอย่างมีประสิทธิภาพ สินค้าหรือบริการเข้าไปอยู่ในความทรงจำของผู้บริโภค ทำให้เกิดความประทับใจหลังการบริโภคสินค้าหรือใช้บริการ สามารถอยู่ในความทรงจำของผู้บริโภคและทำให้ผู้บริโภคเลือกที่จะกลับมาใช้สินค้าหรือบริการอยู่เรื่อยๆ ซึ่งการตลาด Nostalgia marketing นั้น นับเป็นอีกหนึ่งเทคนิค ทางการตลาดที่จะสามารถผลักดันให้สินค้าหรือบริการเข้าไปอยู่ในความทรงจำของผู้บริโภคได้โดยเร็ว ผ่านการอาศัยจุดเชื่อมโยงในความทรงจำที่เมื่อผู้บริโภคพบเห็น หรือได้เห็นหรือยินบางอย่างในการนำเสนอแล้วรู้สึกคิดถึงความทรงจำของตนในช่วงเวลาในอดีต และรู้สึกสนิทใจกับสินค้าหรือบริการที่ได้พบเห็นนั้นไปโดยปริยาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพลงที่เคยโด่งดังในอดีตมาประกอบการนำเสนอสินค้าหรือบริการ หรือการคอลแลปกับคาแรคเตอร์ชื่อดังในอดีตเพื่อสร้างความสนิทสนมเหมือนเป็นเพื่อนรู้ใจของผู้บริโภคในช่วงอายุนั้น ๆ หรือแม้แต่รายละเอียดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตำพูด โทนสี ฟ้อนตัวหนังสือ หรือบรรยากาศในการนำเสนอ อย่างไรก็ดี อีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ครพลาดในการทำการตลาด Nostalgia marketing อย่างมีประสิทธิภาพ คือผู้ผลิตสินค้าหรือบริการจำต้องสามารถระบุช่วงอายุของกลุ่มผู้บริโภคในเป้าหมายได้อย่างชัดเจน เพื่อที่จะเลือกสรรค์องค์ประกอบที่จะใส่ในการนำเสนอให้สอดคล้องไปกับความทรงจำในอดีตของแต่ละกลุ่มผู้บริโภคในแต่ะช่วงวัย ตัวอย่างสินค้าที่มีการทำการตลาด Nostalgia marketing… Continue reading “Nostalgia Marketing” กลยุทธ์การตลาดวันวานไม่เคยเก่า

CBAM: ต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม หรือ และ โอกาสของธุรกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

เราอาจคุ้นเคยกับภาพกาตูนย์แนวนี้ หรือ คุ้นชินกับคากล่าวเชิงรับผิดชอบต่อสังคมของภาคเอกชนที่ว่า “ต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมไม่ควรถูกซ่อนเร้น” หรือ “ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นจุดเปลี่ยนสาคัญในเวทีการค้าโลก” …. หลังจากเดือนตุลาคม 2023 นี้ สิ่งเหล่านี้อาจไม่ใช่แค่ความคุ้นอีกต่อไปหากแต่จะกลายเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมมีแนวทางปฏิบัติชัดเจนผ่านมาตรการของสหภาพยุโรป ซึ่งจะเริ่มดาเนินการเพื่อเข้าสู่มาตรการจัดเก็บภาษีก๊าซเรือนกระจกสาหรับสินค้านาเข้าก่อนข้ามพรมแดน CBAM หรือกลไกการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (Carbon Border Adjustment Mechanism) เกิดขึ้นหลังจากที่สหภาพยุโรปใช้มาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสร้างตลาดแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าภายในสหภาพยุโรปสูงขึ้น ผู้ประกอบการบางรายเห็นช่องทางการลดต้นทุนจึงย้ายฐานการผลิตออกไปยังประเทศอื่นนอกสหภาพยุโรปที่มีกฎระเบียบด้านการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เข้มงวดน้อยกว่า (carbon leakage) แล้วส่งสินค้ากลับเข้ามาขายในสหภาพยุโรป ซึ่งผู้บริโภคก็เลือกที่จะซื้อสินค้านาเข้าเหล่านั้นเพราะมีราคาที่ถูกกว่า คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) จึงมีแนวคิดที่จะจัดเก็บภาษี CBAM เพื่อให้สินค้าที่นาเข้ามาในสหภาพยุโรปต้องถูกคิดรวมต้นทุนที่เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนในกระบวนการผลิตอย่างเท่าเทียมกับสินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรป ทั้งนี้เพื่อรักษาการค้าที่เป็นธรรมรวมถึงเพื่อกระตุ้นให้นานาประเทศมีความพยายามในการลดการใช้ก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจังมากขึ้น โดยเมื่อเดือนเมษายน 2023 ที่ผ่านมา รัฐสภายุโรป (the European Parliament) มีมติเห็นชอบให้ CBAM เป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับมาตรการด้านสภาพภูมิอากาศซึ่งจะถูกบังคับใช้แบบเต็มรูปแบบในปี 2026 โดยกาหนดให้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2023 – 31 ธันวาคม 2025 เป็นระยะเปลี่ยนผ่าน (transition period) ซึ่งครอบคลุมถึงการให้ผู้นาเข้าสินค้าในสหภาพยุโรปบันทึกและแจ้งปริมาณคาร์บอนจากการผลิตสินค้านาเข้า… Continue reading CBAM: ต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม หรือ และ โอกาสของธุรกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

นักลงทุน/ผู้ร่วมทุนมองหาอะไรพิจารณา ก่อนร่วมลงทุนในสตาร์ทอัพ

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายๆ ท่านคงเคยได้ยินคำว่า “สตาร์ทอัพ” ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะในหมู่คนรุ่นใหม่ที่ใครๆ ก็อยากเป็นสตาร์ทอัพ เพราะมันสะท้อนถึงความเป็นคนรุ่นใหม่ที่รักความท้าทาย และพร้อมที่จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยจุดเริ่มต้นของสตาร์ทอัพส่วนใหญ่มักเกิดจากการปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหา หรือเติมเต็มช่องว่างทางโอกาสที่ยังไม่มีใครเคยเห็น การที่สตาร์ทอัพจะอยู่รอดและเติบโตบนโลกได้นั้น จะต้องมีแหล่งเงินทุนที่ดีและผู้ร่วมลงทุนที่มีวิสัยทัศน์ พร้อมนำพาสตาร์ทอัพไปสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง และในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงปัจจัยที่ผู้ร่วมทุนมักใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาก่อนตัดสินใจลงทุนกับสตาร์ทอัพ 1. ทีมผู้ก่อตั้งและทีมงาน: นักลงทุน/ผู้ร่วมทุนให้ความสำคัญกับทีมผู้ก่อตั้งและสมาชิกทีมงานสำคัญอื่นๆ เป็นอย่างมาก ทั้งด้านความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และความสามารถในการทำงานร่วมกันของทีม เพราะจะส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจ การมีทีมงานที่แข็งแกร่งและสมดุลทางทักษะเป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องการเห็น 2. โอกาสทางตลาด: การมีโอกาสในตลาดที่กว้างขว้างและมีศักยภาพในการเติบโตเป็นสิ่งที่นักลงทุนสนใจ ความเข้าใจในตลาดเป้าหมายและการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนว่าสตาร์ทอัพของคุณจะสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดและขยายตัวในตลาดได้ 3. ความแตกต่างในสินค้าหรือบริการ: นักลงทุนสนใจในคุณค่าที่แตกต่างและแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างโดดเด่น ความแตกต่างที่แข็งแกร่งแสดงถึงความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพในการได้รับความนิยมในตลาด 4. แบบจำลองธุรกิจและกลยุทธ์การสร้างรายได้: นักลงทุนตรวจสอบแบบจำลองธุรกิจของสตาร์ทอัพและวิธีการสร้างรายได้และทำให้ได้กำไร พวกเขาประเมินความสามารถในการขยายมิติธุรกิจและความยั่งยืนของแบบจำลองธุรกิจว่ามันสอดคล้องกับแนวโน้มตลาดและพฤติกรรมของลูกค้าหรือไม่ ทางเลือกทางธุรกิจที่ชัดเจนและเหมาะสมก็นับเป็นสิ่งที่ผู้ลงทุนมักจับตามองอีกเช่นเดียวกัน ที่มาของภาพ – istockphoto

เข้าใจ AI และกระแสการนิยม AI อีกครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นจาก ChatGPT

หลังจากกระแสของ AI Chatbot อย่าง ChatGPT พัฒนาโดย OpenAI ที่เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วด้วยความสามารถในการโต้ตอบกับผู้ใช้งานอย่างราบรื่นเหนือระบบ AI อื่นๆ ที่ให้บริการในขณะนั้น ก่อให้เกิดกระแสการพูดถึงเทคโนโลยี AI รวมไปถึงการพัฒนา AI Chatbot ใหม่ๆ ของบริษัทเทคโนโลยีรายอื่นตามมาในช่วงต้นปีนี้ โดยหลายคนอาจมีข้อสงสัยว่าทำไม AI ถึงกลับมาอยู่ในความสนใจอีกครั้งในเมื่อเราก็ค่อนข้างคุ้นเคยกับคำว่า AI และการใช้งานมาร่วมหลายปีแล้ว โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้บางคนอาจต้องมีประสบการณ์ใช้ระบบ AI ผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของออนไลน์ การติดต่อสายการบิน หรือแม้แต่การใช้แอปพลิเคชันเปลี่ยนใบหน้าด้วยระบบ AI ที่เป็นกระแสอยู่พักหนึ่ง ซึ่งยิ่งตอกย้ำให้เราเห็นว่า AI ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย ทั้งนี้ ก่อนที่จะเริ่มหาคำตอบว่าทำไม AI ถึงกลับมาเป็นกระแสอีกครั้งได้มากถึงเพียงนี้ เราควรศึกษาความหมายและลักษณะของ AI ให้เข้าใจกันเสียก่อน ระบบ AI (Artificial Intelligence) หรือ “ปัญญาประดิษฐ์” เป็นเทคโนโลยีที่นำระบบคอมพิวเตอร์มาเรียนรู้ชุดข้อมูลต่างๆ เพื่อแก้ปัญหา วิเคราะห์ สื่อสาร คาดการณ์ในสถานการณ์ต่างๆ หรือแม้แต่การทำงานอื่นๆ ที่เปรียบได้กับความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจของมนุษย์… Continue reading เข้าใจ AI และกระแสการนิยม AI อีกครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นจาก ChatGPT

“April Fool’s Day Marketing” กลยุทธ์การตลาดวัน April Fool’s ที่ไม่ได้สร้างเพียงเสียงหัวเราะ

วัน April Fool’s หรือที่สามารถแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า วันเมษาหน้าโง่ ตรงกับวันที่ 1 เมษายนของทุก ๆ ปีนั้นนับเป็นหนึ่งในวันพิเศษที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในทั่วทุกมุมโลก โดยวัน April Fool’s มีที่มาจากการประกาศเปลี่ยนแปลงวันปีใหม่ของศาสนาคริสต์ในช่วงยุคศตวรรษที่ 16  ณ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเดิมทีคือวันที่ 1 เมษายนให้เป็นวันที่ 1 มกราคม หากแต่การประกาศเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถูกกระจายอยู่ภายในกลุ่มคนเมืองและไปไม่ถึงกลุ่มคนในชานเมือง จนทำให้เกิดการโกหกเพื่อหยอกล้อความไม่รู้ทันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวระหว่างผู้คนบางกลุ่ม แล้วจึงค่อยมาเฉลยกับกลุ่มคนเหล่านั้นว่ามีการเปลี่ยนแปลงวันปีใหม่ไปแล้ว สืบเนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าว ในปัจจุบันวัน April Fool’s นั้นเป็นที่รู้จักในฐานะของวันพิเศษที่ผู้คนสามารถแสดงความขี้เล่นผ่านการโกหกและหยอกล้อกันอย่างมีสีสัน แล้วค่อยทำการเฉลยในตอนท้าย โดยมีกฎเกณฑ์ที่รู้กันโดยสากลว่าต้องอยู่ภายในขอบเขตของการไม่สร้างความเดือดร้อนหรือทำร้ายผู้อื่น อะไรคือการตลาดวัน April Fool’s และเหตุใดแบรนด์ต่าง ๆ จึงหันมาทำการตลาดวัน April Fool’s ? การตลาดวัน April Fool’s คือการที่แบรนด์ต่าง ๆ มักออกมาเปิดตัวสินค้าในวันที่ 1 เมษายน โดยสินค้าดังกล่าวมักมีความแปลกใหม่หรือไม่น่าเชื่อจนทำให้สร้างเสียงหัวเราะและความประหลาดใจท่ามกลางสื่อโซเชียลมีเดีย และออกมาเฉลยในภายหลังว่าสินค้านั้นเป็นส่วนหนึ่งของวัน April Fool’s เพียงเท่านั้นและจะไม่มีการผลิตจริง อาทิ… Continue reading “April Fool’s Day Marketing” กลยุทธ์การตลาดวัน April Fool’s ที่ไม่ได้สร้างเพียงเสียงหัวเราะ

เจาะเทรนด์การตลาด “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” หรือ “Buy Now Pay Later” ที่กำลังเติบโตในประเทศไทย

Buy Now Pay Later (BNPL) คืออะไร การซื้อก่อนจ่ายทีหลัง หรือ Buy Now Pay Later (BNPL) คือ รูปแบบการชำระเงินที่ผู้บริโภคจะได้รับสินค้าหรือบริการก่อน แล้วค่อยจ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการในภายหลัง ซึ่งการชำระเงินสามารถเลือกแบ่งชำระได้ตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 4 เดือน (มากกว่านั้นจะขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ)  และถ้าเป็นการชำระเงินแบบครั้งเดียวจากการใช้บริการแบบ BNPL จะไม่เสียดอกเบี้ยอีกด้วย ธุรกิจ Buy Now Pay Later (BNPL) เติบโตในประเทศไทย และในตลาดทั่วโลก ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้นำด้านดิจิทัล เพย์เมนต์ (Digital Payment) ของโลก ซึ่งจากข้อมูลของ ACI Worldwide ระบุว่า ในปี 2021 ประเทศไทนมีปริมาณการทําธุรกรรมการชําระเงินแบบเรียลไทม์ (Real-time payment transactions) ประมาณ 9.7 พันล้านครั้ง มากที่สุดเป็น อันดับ 3… Continue reading เจาะเทรนด์การตลาด “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” หรือ “Buy Now Pay Later” ที่กำลังเติบโตในประเทศไทย

ทำไมเซมิคอนดักเตอร์ถืงขาดตลาด และทำไมเราต้องสนใจ

เป็นที่รู้กันดีว่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทั่วโลกนั้นประสบปัญหาเซมิคอนดักเตอร์ขาดแคลนเป็นอย่างหนัก ซึ่งสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นวงกว้าง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเทคโนโลยีกับกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องประสบปัญหาสินค้าขาดตลาดและของมีราคาแพงขึ้น สรุปแล้วเรื่องทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และอุตสาหกรรมไหนได้ผลกระทบนี้มากที่สุด ในบทความนี้เราจะไปทำความเข้าใจกัน สาเหตุหลักของวิกฤตการณ์เซมิคอนดักเตอร์ขาดแคลนทั่วโลก สาเหตุแรก การระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา โลกเราได้เจอปัญหาการระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เริ่มทำงานที่บ้านและมีการซื้ออุปกรณ์เพื่อไว้ใช้ทำงานมากขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน และแท็บเล็ต จึงเกิดเป็นอุปสงค์ที่สูงมากในเวลาอันสั้น บวกกับผู้ผลิตบางรายต้องเจอกับการล็อกดาวน์ ทำให้การผลิตซิปเหล่านั้นชะลอตัว ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด สาเหตุที่สอง สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ที่เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี 2019 และดุเดือดขึ้นเรื่อย ๆ โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้กำหนดข้อจำกัดทำให้การค้าขายของบริษัทผู้ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์ของจีนทำการซื้อขายกันยากขึ้นมาก และยังทำให้บางส่วนต้องย้ายถิ่นฐานการผลิตเพื่อหนีของบังคับการค้าต่าง ๆ จนส่งผลให้บริษัทผลิตไม่ทันความต้องการของตลาด อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคงหนีไม่พ้นอุตสาหกรรมเทคโนโลยี อุตสาหกรรมเทคโนโลยีถือเป็นหนึ่งในผู้บริโภคเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สมาร์ทโฟน แล็ปท็อป แท็บเล็ต ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า หรือ เครื่องเกม สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องใช้เซมิคอนดักเตอร์เป็นหัวใจสำคัญ หากใครเป็นคนที่ชื่นชอบการเล่นเกม โดยเฉพาะเกมคอนโซลอย่างเจ้า Playstation ของ Sony คงรู้ข่าวกันดีกว่าเครื่องเกม Playstation 5 ที่พึ่งเปิดตัวไปเมื่อปลายปี… Continue reading ทำไมเซมิคอนดักเตอร์ถืงขาดตลาด และทำไมเราต้องสนใจ

Contact
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สอบถามทางโทรศัพท์
+66 2 677 7270-5
10th Floor, Q. House Lumpini Building,
No. 1 South Sathorn Road, Tungmahamek, Sathorn, Bangkok 10120, Thailand