A.T.A. Carnet: The Passport for Goods

คุณเคยสงสัยไหมคะว่า … ในการแข่งขันโอลิมปิกส์ การแข่งรถ เทศกาลดนตรี หรือ การจัดแสดงสินค้าเครื่องจักรในต่างประเทศ นักกีฬาทั้งทีมขนอุปกรณ์ ขนรถแข่ง ศิลปินขนเครื่องดนตรีของทั้งวงออเคสตร้า หรือบริษัทฯ ขนเครื่องจักรใหญ่ๆกลับไปกลับมาข้ามทวีปได้อย่างไร คำตอบก็คือ พวกเขามักใช้ A.T.A Carnet เป็นตัวช่วยกันค่ะ A.T.A. Carnet (Admission Temporaire/ Temporary Admission) หรือที่มักถูกเรียกว่า พาสปอร์ตสำหรับสินค้า เป็นเอกสารศุลกากรระหว่างประเทศที่อนุญาตให้นำเข้าตัวอย่างสินค้า สินค้าสำหรับจัดแสดงหรืออุปกรณ์วิชาชีพเข้าสู่ประเทศสมาชิกชั่วคราวโดยไม่ต้องชำระภาษีนำเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือวางเงินประกันที่ด่านศุลกากรแต่ละแห่งเป็นระยะเวลาสูงสุดหนึ่งปี โดยหอการค้านานาชาติ (ICC) ออกแบบเอกสารนี้มาเพื่ออำนวยความสะดวก ส่งเสริมธุรกิจและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่ง A.T.A. Carnet เป็นเอกสารมาตรฐานที่สามาถใช้ได้ในกว่า 80 ประเทศทั่วโลก ขั้นตอนหลักของ A.T.A. Carnet – ปกหน้าและปกหลัง (สีเขียว) และใบต่อ (สีขาว) – แบบส่งออกและแบบนำกลับเข้ามาในราชอาณาจักร (สีเหลือง) – แบบนำเข้าและแบบส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (สีขาว) และ –… Continue reading A.T.A. Carnet: The Passport for Goods

ส่องสถิติการลงทุนจากต่างชาติของกลุ่มประเทศอาเซียน

อ้างอิงจากรายงานของ Milken Institute กลุ่มประเทศที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลกเป็นพิเศษและมีการลงทุนอย่างเข้มข้นแม้จะอยู่ภายใต้สถานการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากวิกฤตการณ์โควิด-19 อย่างต่อเนื่องยังคงเป็นกลุ่มของประเทศเกิดใหม่และกำลังพัฒนาในทวีปเอเชีย (Emerging and Developing Asia) โดยสามารถดึงดูดเงินทุนได้กว่าครึ่งหนึ่ง (53.2%) ของทุนทั้งหมดที่ลงทุนในกลุ่มประเทศเกิดใหม่และประเทศพัฒนาทั่วโลกในปี 2018 – 2022 ตามรายงานของ Milken Institute เมื่อพิจารณาความดึงดูดในการลงทุนเป็นรายประเทศในโซนเอเชียพบว่านอกจากสิงคโปร์ที่อยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว มาเลเซีย ไทย และจีน ถือเป็น Top 3 ในกลุ่มประเทศเกิดใหม่และกำลังพัฒนาที่มีปัจจัยเอื้อต่อการลงทุนมากที่สุดตามลำดับ โดยเทียบจากดัชนี Global Opportunity Index หรือ GOI ที่จัดทำโดย Milken Institute จากการพิจารณาประเทศใน 5 กลุ่มปัจจัย ประกอบด้วย การรับรู้ในธุรกิจ (Business perception) โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Economic fundamentals) บริการทางการเงิน (Financial services) กรอบแนวคิดเชิงสถาบัน (Institutional Framework) และการมีมาตรฐานและนโยบายระหว่างประเทศไทย (international standards &… Continue reading ส่องสถิติการลงทุนจากต่างชาติของกลุ่มประเทศอาเซียน

การเตรียมความพร้อมของการมี ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) ในประเทศไทย 

ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดรับฟังความเห็นต่อแนวทางการอนุญาตให้จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) ตั้งแต่ต้นปี 2566 ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหลายแห่งต่างให้สนใจที่จะขอใบอนุญาตเพื่อการลงทุนในการจัดตั้ง Virtual Bank ในประเทศ ดังนั้น Blog ฉบับนี้ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ Virtual Bank โดยสามารถสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้  Virtual Bank คืออะไร ธปท. ให้ความหมายของ ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา คือเป็นธนาคารพาณิชย์รูปแบบใหม่ที่ให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นหลักโดยไม่มีสาขา เครื่องถอนเงินสดอัตโนมัติ (ATM) หรือเครื่องฝากเงินสดอัตโนมัติ (CDM) เป็นของตนเอง แต่ยังสามารถให้บริการทางการเงินได้อย่างครบวงจร อย่างไรก็ตาม เพื่อให้บริการลูกค้าที่ยังต้องการใช้เงินสด หรือให้บริการที่ยังไม่สามารถทำผ่านช่องทางดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบ ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา อาจแต่งตั้งตัวแทนรับฝาก/ถอนเงิน หรือให้บริการผ่านเครือข่าย ATM ของธนาคารพาณิชย์อื่น   ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา มีความแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์แบบดั้งเดิม นอกเหนือจากเรื่องการมีสำนักงานสาขา กล่าวคือ ผู้ขอจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา ต้องมีความเชี่ยวชาญในการให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัล, มีความเชี่ยวชาญในการนำเทคโนโลยีและข้อมูลที่หลากหลาย อาทิเช่น ข้อมูลทางการเงินและข้อมูลทางเลือก เช่น พฤติกรรมการใช้จ่าย มาใช้ประเมินความเสี่ยงและวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถนำเสนอการบริการทางการเงินในรูปแบบใหม่ (new value proposition)… Continue reading การเตรียมความพร้อมของการมี ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) ในประเทศไทย 

งบประมาณฐานศูนย์ (Zero-Based Budgeting) กับการจัดระเบียบทางการเงินของภาครัฐ และภาคเอกชน

งบประมาณฐานศูนย์ หรือ Zero-Based Budgeting (ZBB) คืออะไร งบประมาณฐานศูนย์เป็นระบบการจัดทำงบประมาณที่ถูกพัฒนาโดย ปีเตอร์ เพียร์ (Peter Pyhrr) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) จนประสบความสำเร็จ งบประมาณฐานศูนย์ คือการจัดทำงบประมาณโดยคำนึงถึงความจำเป็น และความเหมาะสมของสถานการณ์ในช่วงเวลานั้น โดยไม่คำนึงถึงงบประมาณที่เคยได้จากปีก่อน โดยระบบนี้ จะตั้งคำถาม 3 เรื่อง คือ 1) ความจำเป็นของโครงการ ในปีงบประมาณต่อไป ยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่ 2) งบประมาณที่เขียนขอมา สูงเกินความจริงหรือไม่ และ 3) ผลลัพธ์ที่ผ่านมาของโครงการ เป็นอย่างไร สำเร็จมากน้อยขนาดไหน การประยุกต์ใช้ งบประมาณฐานศูนย์ ของภาครัฐบาล ทีมบริหารงานกรุงเทพมหานคร ภายใต้การนำทีมของ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้เตรียมปรับใช้งบประมาณฐานศูนย์ตาม 214 นโยบายชัชชาติ เพื่อความยืดหยุ่น คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ สอดรับกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน โดยคาดว่าประชาชนจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้ใช้งบประมาณฐานศูนย์ เพื่อแก้ปัญหาการจัดสรรงบประมาณเก่าที่ขาดความชัดเจนและโปร่งใส… Continue reading งบประมาณฐานศูนย์ (Zero-Based Budgeting) กับการจัดระเบียบทางการเงินของภาครัฐ และภาคเอกชน

จากกำไรสู่จุดมุ่งหมาย: วิถีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) คือกรอบการพัฒนาภายใต้เป้าหมาย 17 ประการ โดย 193 ประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยตกลงดำเนินการร่วมกันเพื่อบรรลุการพัฒนาคน การพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนภายในปี ค.ศ. 2030 ถึงแม้ว่าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนนี้ จะถูกสร้างขึ้นเพื่อนำทางรัฐบาลและองค์กรทางสังคมในการดำเนินการเป็นหลัก แต่ในสถานการณ์จริงแล้วธุรกิจมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน SDGs เป็นอย่างมาก เนื่องจากกิจกรรมทางตรงของธุรกิจสามารถสร้างคน สร้างงาน ส่งเสริมนวัตกรรม และลงทุนในการวิจัยพัฒนาวิธีการที่ยั่งยืนที่สามารถช่วยในการจัดการกับภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับโลกของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราสามารถเริ่มดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างไร? 1. เข้าใจเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน:ธุรกิจจำเป็นต้องมีความเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายทั้ง 17 ประการของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ความเข้าใจนี้เป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถระบุเป้าหมายและวิธีการที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ 2. ดำเนินการประเมินความสำคัญของปัญหาและระบุ SDGs Goals:ธุรกิจควรดำเนินการประเมินความสำคัญของปัญหาทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและระบุว่า SDGs Goals ใดมีผลกระทบต่อธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของธุรกิจมากที่สุด โดยธุรกิจสามารถประเมินและกำหนดลำดับความสำคัญตามขอบข่ายที่มีผลกระทบสูงสุดก่อน 3. กำหนดเป้าหมายและพัฒนาแผนงาน: เมื่อเข้าใจปัญหาของธุรกิจและประเมินลำดับความสำคัญของการพัฒนาเพื่อบรรลุเป้าหมายตาม SDGs แล้ว ธุรกิจสามารถกำหนดเป้าหมายและพัฒนาแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นอย่างเฉพาะเจาะจง แผนการดำเนินการครอบคลุมถึงการกำหนดวิธีการ กรอบเวลาและผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน 4. สร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: ในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย SDGs นั้น… Continue reading จากกำไรสู่จุดมุ่งหมาย: วิถีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

ภาพรวมตลาดอาหารเสริมเพิ่มโปรตีนในประเทศไทย และเทรนผลิตภัณฑ์เสริมโปรตีนที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน

สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์โควิด 19 และการระบาดของไข้หวัดชนิดต่าง ๆ ที่ทาให้ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพและการดูแลตัวเองกันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะผ่านการปรับการใช้ชีวิตประจาวัน อย่างการหันมาออกกาลังกายและปรับพฤติกรรมการกินของตน หนึ่งในพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดนั่นก็คือการกันมาบริโภคอาหารเสริม (Vitamin and Dietary Supplement) กันมากยิ่งขึ้นหนึ่งในสารอาหารที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงเป็นอย่างมากคือ “โปรตีน” (Protein Supplement) ซึ่งนับเป็นสารอาหารที่มีหน้าที่สาคัญในการเพิ่มความแข็งแรงให้ผิวหนัง กระดูก และกล้ามเนื้อสาหรับผู้คนทุกเพศทุกวัย โดยผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพิ่มโปรตีนที่สามารถพบเห็นได้บ่อยในท้องตลาดนั่น มาทั้งในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ โปรตีนชนิดเม็ด และโปรตีนสกัดผง ให้ผู้คนได้เลือกสรรที่จะบริโภคตามความสะดวกสบายของแต่ละคน การเติบโตของตลาดอาหารเสริมเพิ่มโปรตีนของประเทศไทย และผู้เล่นสาคัญในตลาด จากกราฟด้านล่าง จะสามารถสังเกตเห็นได้ว่าตั้งแต่ปีค.ศ. 2016 – ค.ศ. 2021 ตลาดอาหารเสริมเพิ่มโปรตีนในประเทศไทยมีการเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในช่วงที่โควิด 19 เริ่มระบาด ปีค.ศ. 2019 ปีที่มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 2,898.3 ล้านบาท ได้เพิ่มขึ้นเป็น 3,150.5 ล้านในปีค.ศ. 2020 และเป็นมูลค่า 3,323.8 ล้านบาทในปีค.ศ. 2021 ตามลาดับ โดยการสำรวจรายชื่อผู้เล่นสำคัญในตลาดอาหารเสริมเพิ่มโปรตีนของประเทศไทยของปีค.ศ. 2021 พบว่า… Continue reading ภาพรวมตลาดอาหารเสริมเพิ่มโปรตีนในประเทศไทย และเทรนผลิตภัณฑ์เสริมโปรตีนที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน

PDPA คืออะไร กระทบต่อภาคธุรกิจอย่างไร

หลังจากที่เลื่อนบังคับใช้มามากว่า 2 ปี เป็นที่แน่นอนแล้วว่าตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (The Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019)) หรือที่คุ้นหูกันว่า “PDPA” จะมีผลบังคับใช้ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ PDPD คืออะไร? PDPD คือกฎหมายที่ออกมาเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล (Personal data) หรือข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของบุคคลบุคคลหนึ่งได้ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ อีเมล เลขที่บัญชีธนาคาร ประวัติการรักษาพยาบาล เป็นต้น โดย PDPA กำนดไว้ว่าหากผู้ใดจะเก็บรวมรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน ซึ่งการขอความยินยอมอาจทำเป็นหนังสือหรือผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ โดยจะต้องแจ้งวัตถุประสงค์ในการใช้รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว อย่างไรก็ตามบางกรณีผู้ใช้ข้อมูลอาจะไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หากการเปิดเผยดังกล่าวเป็นไปเพื่อป้องกันอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อดำเนินการทางกฎหมาย หรือเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ เป็นต้น PDPA กระทบต่อภาคธุรกิจอย่างไร? ภาคธุรกิจที่มีการจัดเก็บและนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้งานในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ หรือ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล”(Controller)… Continue reading PDPA คืออะไร กระทบต่อภาคธุรกิจอย่างไร

มาเรียนรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) กัน

เป็นที่รู้กันดีว่ารถยนต์ไฟฟ้านั้นแตกต่างจากรถยนต์สันดาปตรงที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อนแทนน้ำมันเชื้อเพลิง และรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่มีตัวเครื่องยนต์ (Engine) และระบบเกียร์ (Transmission) ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกเพิ่มเติมในส่วนของส่วนประกอบสำคัญ 7 อย่างที่มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนของรถยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ มอเตอร์ (Motor) รีดิวเซอร์ (Reducer) แบตเตอร์รี่ (Battery) ระบบ การจัดการแบตเตอรี่(Battery Management System) ระบบควบคุมอุณหภูมิแบตเตอรี่ (Battery heating System) ระบบชาร์จไฟฟ้าแบบออนบอร์ด (on-board charger) และ ชุดควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าในรถยนต์ (Electric Power Control Unit (EPCU)) มอเตอร์ (Motor) หากเปรียบเป็นเครื่องยนต์สันดาป มอเตอร์ก็คือเครื่องยนต์ของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า (electricity) ให้เป็นพลังงานจลน์ (kinetic energy) ซึ่งจุดเด่นของตัวมอเตอร์ คือ เสียงที่เงียบจากการที่มีแรงสั่นสะเทือนที่น้อยกว่าเครื่องยนต์ทั่วไป นอกจากนี้ ระบบส่งกำลังบนเครื่องยนต์ไฟฟ้านั้นยังมีขนาดเล็กกว่าเครื่องยนต์สันดาปเป็นอย่างมาก จึงทำให้รถยนต์มีพื้นที่เยอะขึ้น ลดข้อจำกัดในการออกแบบรถยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ขยายพื้นที่ที่นั่งให้มีระยะมากขึ้น หรือขนาดช่องใส่สัมภาระที่ใหญ่ขึ้น                 โดยหลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า… Continue reading มาเรียนรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) กัน

ข้อตกลงการค้าเสรี RCEP และประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ

 หลังจากที่ข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่สุดในโลกอย่าง The  Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP)  หรือความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคได้เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา หลายภาคส่วนต่างจับตามองว่าความร่วมมือทางการค้านี้จะสร้างประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจและการลงทุนในกลุ่มประเทศสมาชิกรวมถึงประเทศไทยอย่างไรบ้าง บทความนี้จะช่วยตอบคำถามนี้และสรุปประเด็นสำคัญที่นักลุงทุนควรทราบ ในภาพรวม RCEP เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน ( ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย) และ 5 ประเทศคู่เจรจา (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) ซึ่งเป็นความตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่สุดในโลกครอบคลุมประชากรรวมกัน 2,300 ล้านคน (30.2% ของประชากรโลก) GDP รวมมูลค่า 28.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (33.6% ของ GDP โลก) และมูลค่าการค้ารวม 10.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (30.3% ของมูลค่าการค้าของโลก) โดยความร่วมมือนี้จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการค้า… Continue reading ข้อตกลงการค้าเสรี RCEP และประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ

CPTPP กับโอกาส และผลกระทบของประเทศไทย

หลายคนคงสงสัยว่า ตัวอักษรภาษาอังกฤษ 5 ตัวนี้ “CPTPP” คืออะไร แล้วทำไมหลายภาคส่วนถึงให้ความสนใจ ข้อตกลงทางการค้า “ซีพีทีพีพี” (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership: CPTPP) เป็นข้อตกลงการค้าเสรีระหว่าง 11 ประเทศ ในแถบภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรเลีย, บรูไน ดารุสซาลาม, แคนาดา, ชิลี, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, เม็กซิโก, นิวซีแลนด์, เปรู, สิงคโปร์ และเวียดนาม โดยพัฒนามาจากการเจรจาข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ “ทีพีพี” (Trans-Pacific Partnership: TPP) ซึ่งเดิมทีมี “สหรัฐอเมริกา” รวมอยู่ด้วยก่อนที่ภายหลังจะถอนตัวออกมา ซึ่งข้อแตกต่างระหว่าง CPTPP กับ TPP คือขนาดของเศรษฐกิจ และการค้าที่เล็กลง แต่มีกฎเกณฑ์ที่ผ่อนคลายมากขึ้น CPTPP จะส่งผลดีกับประเทศอื่นๆ อย่างไร ประเทศญี่ปุ่น –… Continue reading CPTPP กับโอกาส และผลกระทบของประเทศไทย

Contact
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สอบถามทางโทรศัพท์
+66 2 677 7270-5
10th Floor, Q. House Lumpini Building,
No. 1 South Sathorn Road, Tungmahamek, Sathorn, Bangkok 10120, Thailand